การพัฒนาแบบวัดการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัวตามการรับรู้ของคนไทยในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คนไทยวัยทำงานที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในภาคใต้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัววัดฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวณค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค สำรวจจำนวนองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสอดคล้องภายในมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 2) การมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัว มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านกาย ด้านเศรษฐกิจ และด้านจิต-สังคม โดยตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ ในการศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และอธิบายความแปรปรวนของการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัวได้ร้อยละ 67.33 โดยด้านการจิต-สังคมเป็นองค์ประกอบที่อธิบายการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัวได้มากที่สุด (ร้อยละ34.47) แบบวัดที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงสามารถนำไปใช้วัดการมีชีวิตที่ผสมผสานลงตัวตามการรับรู้ของคนไทยในภาคใต้ได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.
3.Ferketich, S. (1991). Focus on psychometrics aspects of item analysis. Research in Nursing and Health, 14, 165-8.
4.Joreskog, K. G. & Sorbom, D. (1996). LISREL 8 user’s reference guide. Chicago: Scientific Software International.
5.Matuska, K. (2012). Validity Evidence of a Model and Measure of Life Balance. OTJR: Occupation, Participation and Health, 32(1), 229-237.
6.Matuska, K. & Christiansen, C. (2008). A Proposed Model of Life Style Balance. Journal of Occupational Science, 15(1), 9-19.
7.Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
8.Panyavong, K. & Prugsunun, P. (2012). Teaching document on holistic health care. Samutprakarn: Leaning Institute for everyone. (in Thai)
9.Ruengdetch, K., Kama, A., Chaosuanchareon, P. & Sungkeawe, S. (2014). Factors Predicting Quality of Victims under the Unrest Situation in Yala Province. Princess of Narathiwas University Journal, 5(2), 14-27. (in Thai)
10.Sheldon, K. M., Abad, N., Ferguson, Y., Gunz, A., Houser-Marko, L., Nichols, C. P. et al. (2010). Persistent pursuit of need satisfying goals leads to increased happiness: A 6-month experimental longitudinal study. Motivation and Emotion, 34, 39-48.
11.Virachchai, N. (1999). Lisrel Model: Statistical Analysis for Research. Bangkok: Chalalongkorn University Press. (in Thai)