การศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดยะลา

Main Article Content

วรากร แซ่พุ่น
ภากร นพฤทธิ์
วราลี รุ่งบานจิต
วรทา รุ่งบานจิต
วรนาถ แซ่เซ่น
ชุติมา คำแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดยะลา ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ด้านปัญหาการเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดยะลาที่เลือกเรียนภาษาจีน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage stage sampling) จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนท่ 2 เป็นคำถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดยะลา สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า ด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่เลือกเรียนภาษาจีนก็เพราะด้วยประเทศจีนมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสูง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.65 (S.D.=0.75) ด้านปัญหาการเรียนนักเรียนมีจุดอ่อนในเรื่องของการพูดภาษาจีนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.10 (S.D.= 0.92) ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ส่วนมากจะจัดกิจกรรมการร้องเพลงจีนมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.57 (S.D.= 0.79) และด้านสื่อการเรียนการสอน อาจารย์ได้นำสื่อการเรียนการสอนมาในห้องเรียนน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.39 (S.D.= 1.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Best & Kahn James, V. (1993). Research in Education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
2.Chantrakantanond, P. (2006). A Study of the Managerial State of Private Schools Offering Chinese Language in the Basic Education Curriculum. Master of Education College. University Business. (in Thai)
3.Institute of Asian Studies Chulalongkorn University. (2008). Teaching Chinese in Thailand: Primary and Secondary Education. Bangkok: Chinese Studies Center. (in Thai)
5.Lertpiang, S. (2016). Factors Affecting Readiness for ASEAN Economic Community of Accounting Firms, Lampang Province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 173-184. (in Thai)
6.Manomaiwiboon, P. (2006). The Mandarin. Chinese Journal of Communication, 2, 215-330. (in Thai)
7.Nuansri, A. (2015). The Communicative Approach for Learning Chinese with the Total Physical Response (TPR) Method for the Grade 4 Students of Way Khu-yang, Kampheng phet Primary Education Area Office 1. Panyapiwat Journal, 1, 149-159. (in Thai)