การจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบ VARK ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ธนาวุฒิ นิลมณี
ดวงกมล โพธิ์นาค
กฤช สินธนะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบ VARK ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้งหมดจำนวน 337 คน โดยใช้แบบสอบถามวัดรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลตาม VARK Learning style โดยลักษณะของคำถามในแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนทั้งสิ้น 16 ข้อ โดยผู้เรียนจะเลือกคำตอบที่ดีที่สุดของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนทั้งหมดมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้เรียนที่มีความถนัดด้านการเรียนรู้ที่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยทำแบบสอบถามถูก 9 ข้อขึ้นไปในแต่ละด้านความถนัดจำนวน 126 คน จะจำแนกผู้เรียนตามความถนัดจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง (Unimodal learner) จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 54 และผู้เรียนที่มีความถนัดหลายอย่าง (Multimodal learner) จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 46 โดยแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนที่มีความถนัดอย่างใดอย่างหนึ่งมีจำนวนมากกว่าไม่มากนัก ผู้เรียนที่มีความถนัด 2 ด้าน (Bi-modal) มีจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 62 ผู ้เรียนที่มีความถนัด 3 ด้าน (Tri-modal) มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ผู้เรียนที่มีความถนัดทั้ง 4 ด้าน (Quad-modal) มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 12 อย่างไรก็ตาม จากการจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ ในการปรับและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : ครุสภาลาดพร้าว.
2.สิรารักษ์ ศรีมาลา และรุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์. (2558). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลทารกแรกเกิดแบบ VARK Learning Style. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(4),751-759.
3.Bellanca, J. A. & Brandt, R. S. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Student Learn. US: Solution Tree.
4.Fleming, N. D. & Mills, C. (2008). VARK a guide to learning styles [Online]. Retrieved May 8, 2015, from: http://www.varklearn.com/Retrieved.
5.Hawk, T. F. & Shah, A. J. (2007). Using learning style instruments to enhance student learning. Decision Sciences Journal of Innovative Education, 5, 1-19.
6.James, W. B. & Gardner, D. L. (1995). Learning styles: Implications for distance learning. New directions for adult and continuing education, 1995, 19-31.
7.Katsioloudis, P. J. & Fantz, T. D. (2012). A Comparative Analysis of Preferred Learning and Teaching Styles for Engineering Industrial and Technology Education Students and Faculty. Journal of Technology Education, 23(2), 61-69.
8.Kow-trakul, S. (2002). Educational Psychology. (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
9.Pawuttipattarapong, S. (2014). TESL students, M.Ed, Burapha University [Online]. Retrieved June 16, 2015, from: http://vark-learn.com/wp-content/uploads/2014/08/The-VARK-Questionnaire-Thai.pdf.
10.Pashler, H., McDaniel, M., Rohrer, D. & Bjork, R. (2008). Learning styles concepts and evidence. Psychological science in the public interest, 9(3), 105-119.
11.Tanwinit, A. & Sittiprapaporn, W. (2010). Learning Styles of Undergraduate Musical Students Attending Music College in Thailand. Revista Electr. De LEEME (Lista Europea Electrónica de Música en la Educación), 2(5), 149-163.
12.Wittmann-Price, R. A. & Godshall, M. (2009). Strategies to promote deep learning in clinical nursing courses. Nurse Educator, 34(5), 214-216.