ผลของระดับการเสริมอาหารข้นต่อปริมาณและคุณภาพน้ำนมของแพะที่ได้รับทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ

Main Article Content

จารุณี หนูละออง
องอาจ อินทร์สังข์

บทคัดย่อ

การเลี้ยงแพะโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นอาหารหยาบหลักแล้วเสริมด้วยอาหารในระดับหนึ่งน่าจะเป็นการส่งเสริมให้แพะให้น้ำนมที่มีปริมาณคุณภาพที่ดีขึ้นได้ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและคุณภาพของน้ำนมและค่าทางชีวเคมีในเลือดของแพะที่ได้รับทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก ดำเนินการโดยเลี้ยงแพะนมผสมพื้นเมืองแองโกลนูเบียล ระยะเริ่มให้นม จำนวน 4 ตัว ที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 33.37±4.81 กิโลกรัม ในกรงขันเดี่ยวให้ได้รับทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นอาหารหยาบ และเสริมด้วยอาหารข้นที่ต่างกัน 4ระดับ คือ ร้อยละ 0, 0.25, 0.50 และ 0.75 ของน้ำหนักตัวต่อวัน สลับหมุนเวียนกันไปใน 4 ช่วงการทดลองๆ ละ 13 วัน ตามแผนการทดลองแบบ4*4 ลาตินสแคว์ ศึกษาค่าทางชีวภาพของน้ำนมของแพะในระยะ 3 วันสุดท้ายของแต่ละช่วงกรทดลอง ผลปรากฏว่าองค์ประกอบของน้ำมันที่เป็นไขมัน โปรตีน แลคโตส ของแข็งทั้งหมด และของแข็งทั้งหมดไม่รวมไขมัน ตลอกจนค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความถ่วงจำเพาะ ความหนาแน่นและจำนวนโซมาติกเซลล์ในน้ำนมของแพะแต่ละกลุ่มไม่มีความแตดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เช่นเดียวกับระดับยูเรีย น้ำตาลกลูโคส และฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีนเลือดก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทางใบปาล์มน้ำมันหมักจัดเป็นแหล่งอาหารหยาบที่ดีของแพะ สามารถใช้เลี้ยงแพะได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้อาหารข้นเสริม แพะก็สามารถให้น้ำนมที่ไม่แตกต่างทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพเมื่อเปรียบเทียบกับแพะที่ได้รับการเสริมอาหารข้น ดังนั้นจึงควรพัฒนาแนวทางการใช้ทางปาล์มน้ำมันเป็นอาหารแพะในรูปแบบอื่นต่อไปอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย