รูปแบบการช่วยเหลือด้านการเรียนต่อพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรม การเรียนสามารถส่งเสริมได้โดยใช้การช่วยเหลือในหลายรูปแบบหรือหลายกิจกรรม การวิเคราะห์ตนเอง การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การทำแฟ้มพัฒนาการเรียน และการสนับสนุนจากครูผู้สอนเป็น 4 วิธี ที่เหมาะสมในการสง่ เสริมพฤติกรรมการเรียน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการช่วยเหลือด้านการเรียนต่อพฤติกรรมการเรียนของนัก ศึกษาโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี ประชากรคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.40 จำนวน 45 คน กลุ่มทดลองได้รับการช่วยเหลือด้านการเรียน โดยประกอบด้วย กิจกรรมการช่วยเหลือ 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ตนเอง 2) การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) การทำแฟ้มพัฒนาการเรียน และ 4) การสนับสนุนจากครูผูส้ อน โดยมีระยะเวลา 24 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อ มูลทั้งในระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมด้านการเรียน และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมด้านการเรียน แบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมด้านการเรียนผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจาก ผู้เชี่ยวชาญ หาค่าความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนก่อน-หลังการทดลองโดยใช้การทดสอบที (paired t-test) ผล การวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนของกลุ่มตัวอย่างกอ่นการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ p > 0.05 จึง เสนอแนะได้ว่าควรมีการติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนใน แต่ละเทอมและปีการศึกษา และพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือด้านการเรียนของนักศึกษาไปใช้ในกลุม่ อื่นเพื่อยืนยันผลต่อไป
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น