ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในระดับที่ต่างกันต่อคุณภาพสีไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น

Main Article Content

วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์
อุบล ตันสม
อับดุลรอฮิม เปาะอีแต
ฮานีย๊ะ ปอเย๊าะ

บทคัดย่อ

การทดลองนำสารสีจากเมล็ดคำแสดมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่น เพื่อศึกษาคุณภาพสีไข่แดง ทำการทดลองด้วยนกกระทาญี่ปุ่นเพศเมีย จำนวน 450 ตัวใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomize Design; CRD) ประกอบด้วย 9 กลุ่มดังนี้ อาหารผสมสารสี 0 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มควบคุมด้านลบ) (กลุ่มที่ 1) อาหารสำเร็จรูปทางการค้า(กลุ่มควบคุมปกติ)(กลุ่มที่ 2) อาหารผสมสารสีสังเคราะห์ 1.5 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มควบคุมด้านบวก)(กลุ่มที่ 3) อาหารผสมสารสกัดเมล็ด คำแสด 1.5 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มที่ 4) อาหารผสมสารสกัดเมล็ดคำแสด 2.0 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มที่ 5) อาหารผสมสารสกัดเมล็ดคำแสด 2.5 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มที่ 6) อาหารผสมผงแห้งเมล็ดคำแสด 1.5 เปอร์เซ็นต์ (กลุม่ ที่ 7) อาหารผสมผงแหง้ เมล็ดคำแสด 2.0 เปอร์เซ็นต์ (กลุม่ ที่ 8) และอาหารผสมผงแหง้ เมล็ดคำแสด 2.5 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มที่ 9) เก็บข้อมูลผลผลิตไข่ คุณภาพฟองไข่ และคุณภาพสีไข่แดง ตั้งแต่นกกระทา เริ่มไข่จนถึง 11 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IRRISTAT® ผล การศึกษาด้านผลผลิตไข่ พบว่า นกกระทาที่ได้รับอาหารผสมสารสีจากเมล็ดคำแสดทุกระดับให้ผลผลิตไข่ไม่แตกต่าง กันเมื่อ เทียบกับกลุม่ ควบคุมด้านลบและด้านปกติ แต่เมื่อเทียบกับกลุ่ม ควบคุมด้านบวกมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) คุณภาพ ฟองไข่ด้านดัชนีไข่แดงและความตึงข้นไข่ขาว พบว่านกกระทาที่ได้รับอาหารผสมสารสีจากเมล็ดคำแสดทุกระดับ มีค่าดัชนีไข่แดงและความตึงข้นไข่ขาว เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมทั้งสามด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) คุณภาพสีไขแดง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมทั้งสามด้าน ซึ่งอาจเป็นเพราะการดูดซึมสาร Xanthophylls ที่ได้รับจากการสังเคราะห์ เพื่อเก็บไปสะสมไว้ในชั้นไขมันใต้ผิวหนังและในไข่แดงดีกว่าสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ ดังนั้นสารสีจากเมล็ดคำแสดสามารถใช้ได้ขึ้นอยู่กับสีไข่แดงที่ผู้บริโภคต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย