ประสิทธิภาพกระบวนการล้างฟิล์มด้วยเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ โรงพยาบาลธารโตและโรงพยาบาลบันนังสตา จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการล้างฟิล์มของเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ และพยากรณ์หาอายุของน้ำยาล้างฟิล์ม โดยใช้เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ ในจังหวัดยะลา จำนวน 2 เครื่อง ที่เป็นรุ่นเดียวกัน แบ่งน้ำยาเป็น 3 ช่วง คือ น้ำยาใหม่ ปานกลางและเก่า สร้างความดำ บนฟิล์มเอกซเรย์ด้วยเครื่องสร้างแถบความดำของฟิล์ม (Sensitometer) นำฟิล์มไปล้างด้วย เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติทั้งสองเครื่อง ต่อมานำฟิล์มที่ผ่านการล้างมาวัดค่าความดำด้วยเครื่องวัด ความดำาของฟิล์ม (Densitometer) แล้วหาค่าเปรียบต่างขาวดำ ค่าขุ่นมัว ค่าความดำาสูงสุด และค่าความดำต่ำสุดมาเปรียบเทียบกันพบว่า เครื่องล้างฟิล์มที่ ใช้ปริมาณฟิล์มมากกว่าจะให้ ค่าความดำความเปรียบต่างขาวดำ ค่าความขุ่นมัว และค่าความดำสูงสุด สูงกว่าเครื่องล้างฟิล์มที่ใช้ปริมาณฟิล์มน้อยกว่าและให้ค่าความเปรียบต่างขาวดำ าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้อายุน้ำยามีอิทธิพลต่อความดำาของฟิล์มและค่าความเปรียบต่างขาวดำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่น่าสนใจคือเมื่อใช้สถิติและใช้กราฟควบคุมคุณภาพ ต่างให้ผลการทดสอบไม่แตกต่างกัน ส่วนการพยากรณ์อายุน้ำยา ไม่เหมาะสมในการใช้ สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย เนื่องจากปริมาณการใช้ฟิล์มต่อวันน้อยและมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ของเครื่องล้างฟิล์มเครื่องที่ 1 และ 2 ค่อนข้างน้อย (R2= 0.410 และ 0.277 ตามลำาดับ) ดังนั้น สำาหรับเครื่องล้างฟิล์มทั้งสองเครื่อง การเปลี่ยนน้ำยาในถังหลักให้สังเกตจากเส้นกราฟในแผนควบคุมคุณภาพก็เพียงพอ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ. (2545). สถิติวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการล้างฟิล์มของเครื่องล้างฟิล์ม อัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาสถิติประยุกต์.
3.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). การล้างฟิล์มด้วยเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2557, จาก : http://www.med.cmu.ac.th/dept/radiology/
324321/การล้างฟิล์ม[1].pdf.
4.Serman, N. (2000). Processing the Radiograph. New York: Columbia university.
5.Laughlin, J. S. (1981). Basic Quality Control in Diagnostic Radiology. New York: American association of physicists in medicine.
6.Conference of radiation control program directors (CRCPD). (2001). Quality control recommendations for diagnostic radiography volume 1 dental facilities. Frankfort: Conference of radiation control program directors, Inc.
7.The tuberculosis coalition for technical assistance (TBCTA). (2008). Handbook for district hospitals in resource constrained settings on quality assurance of chest radiography. USA: TBCTA.