ความเหมือนและแตกต่างของพิธีกรรมในเทศกาลกินเจของศาลเจ้าจีนในจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลำดับขั้นตอนของพิธีกรรมที่ ใช้ประกอบในเทศกาลกินเจของศาลเจ้าจีนในจังหวัดตรัง จากบริบทความเหมือนและแตกต่างในอดีตสู่ปัจจุบัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากศาลเจ้าในเขตพื้นที่อำเภอเมืองตรังและอำ าเภอห้วยยอด จำ านวน 4 แห่ง คือ ศาลเจ้าท่ามก๋งเยี่ย ศาลเจ้ากิ่วอ๋องเอี่ย ศาลเจ้าหมื่นราม และศาลเจ้ากิ่วอ๋องไต่เต่ห้วยยอด ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมที่ใช้ประกอบในเทศกาลกินเจในศาลเจ้าจีนของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย 8 พิธีกรรมใหญ่ๆ คือ 1.พิธีปลุกระดมประชากรทั้ง 12 นักษัตร 2.พิธีป่ายตั๋ว 3.พิธีขึ้นเสาเต็งโก 4.พิธีปางเอี๋ยและพิธีโขกุน 5.พิธีพระออกเที่ยว 6.พิธีสะเดาะเคราะห์ 7. พิธีส่งเทพเจ้า 8.พิธีลงเสาเต็งโกและพิธีโขกุนคาว สำหรับกิจกรรมที่ปฏิบัติในพิธีกรรมดังกล่าวต่างมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน นั่นคือ ในจำานวนทั้งหมด 8 พิธีกรรมใหญ่ มีเพียงพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ที่มีความแตกต่าง ส่วนอีก 7 พิธีกรรม มีความเหมือนกัน ทั้งนี้ ความเหมือนและแตกต่างกันนี ้มีความเกี ่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ เวลา ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับระบบความเชื่อของคนจีนในแต่ละกลุ่ม
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ปัญญา เทพสิงห์. (2542). รูปแบบศาลเจ้าและวัดจีนในเทศบาลนครหาดใหญ่. รายงานการวิจัยภาควิชาสารัตถศึกษา. สงขลา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
3.ผาสุก มุทธเมธา. (2535). คติชาวบ้านกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
4.พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2551). ศาลเจ้าและวัดจีนในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
5.สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.