ผลของเฮปตาคลอร์และเอนโดซัลแฟน-ซัลเฟต ที่ปนเปื้อนในดินต่อการเจริญเติบโตของพืชวงศ์แตงและวงศ์ผักกาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของการปนเปื้อนร่วมกันของสารเฮปตาคลอร์และเอนโดซัลแฟน-ซัลเฟตในดินต่อการเจริญเติบโตของพืชวงศ์แตงและวงศ์ผักกาด โดยผสมสารชนิดดังกล่าวในอัตราส่วน 1:1 ที่ระดับความเข้มข้น 0.4–40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนํ้าหนักแห้งของดินในดินแล้วปลูกฟักทอง แตงกวา และผักกาดขาวเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่มีสารปนเปื้อน หลังจากทดสอบเป็นเวลา 10 วัน วัดร้อยละการงอก ความยาวยอดและราก นํ้าหนักสดและนํ้าหนักแห้งของต้นกล้า ผลการทดลองพบว่า การปนเปื้อนร่วมกันของสารทดสอบ 2 ชนิดดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการงอกของพืชทั้ง 3 ชนิด ส่วนผลต่อความยาวยอดและรากนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยฟักทองและแตงกวามีความยาวยอดตํ่าลงเมื่อระดับความเข้มข้นของการปนเปื้อนสูงขึ้น แต่ผักกาดขาวมีความยาวยอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>.05) เมื่อระดับความเข้มข้นของการปนเปื้อนสูงขึ้น ส่วนผลต่อความยาวรากพบว่า ฟักทองมีความยาวรากไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>.05) เมื่อความเข้มข้นของสารทดสอบเพิ่มขึ้นซึ่งให้ผลต่างกับความยาวรากของแตงกวาและผักกาดขาว เมื่อพิจารณานํ้าหนักสดและนํ้าหนักแห้ง พบว่า ไม่มีผลกระทบจากการปนเปื้อนในดินของสารทดสอบทั้งสองชนิดในพืชทั้ง 3 ชนิด จึงสรุปได้ว่า ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสามชนิดดังกล่าว ดังนั้น สามารถปลูกพืชทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวในดินที่มีการปนเปื้อนของสารทั้ง 2 ชนิดนี้ที่ความเข้มข้นดังกล่าวได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ขนิษฐา สมตระกูล และสุนันทา ประทุมมา. (2554ข). ความเป็นพิษของเอ็นโดซัลแฟน-ซัลเฟตที่ปนเปื้อนในดินต่อการเจริญของพืชเศรษฐกิจในระยะต้นกล้า. แก่นเกษตร, 39, 295-299.
3.ปิยะวรรณ ศรีวิลาศ และกานดา ใจดี. (2549). สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย. ว. วิทยาศาสตร์ บูรพา, 11, 26-39.
4.วราภรณ์ ฉุยฉาย เจริญพงษ์ ชมพูนุช สุชาติ สระทองหน และปัทมาพร รูปปัทม์. (2553).ความเป็นพิษของลินเดนและเอนโดซัลแฟนที่ตกค้างในดินด่างต่อการเจริญระยะต้นกล้า
ของถั่วฝักยาวและผักกวางตุ้ง. รายงานการประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 11(หน้า 425-428), 25-25 มกราคม 2553. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5.Ajithkumar, P. U., Gangadhar, K. P., Manilal P. and Kunhi, A. A. M. (1998). Soil inoculation with Pseudomonas aeruginosa 3MT eliminates the inhibitory effect of 3-chloro- and 4-chlorobenzoate on tomato seed germination. Soil Biol. Biochem, 30, 1053-1059.
6.Calveno Pereira, R. C., Monterroso, C. and Macías, F. (2010). Phytotoxicity of hexachlorocyclohexane: Effect on germination and early growth of different plant species. Chemosphere, 79, 326-333.
7.Chouychai, W. and Lee, H. (2012). Phytotoxicity assay of crop plants to lindane and alpha-endosulfan contaminants in alkaline Thai soil. Int. J. Agri. Biol, 14, 734 - 738.
8.Eom, I. C., Rast, C., Veber, A. M. and Vasseur, P. (2007). Ecotoxicology of a polycyclic aromatic hydrocarbon-contaminated soil. Ecotoxicol. Environ. Safe, 67, 190-205.
9.Gissel-Nielsen, G. and Nielsen, T. (1996). Phytotoxicity of acridine, an important representative of a group of tar and creosote contaminants, N-PAC compounds. Polycyclic Aromatic Compounds, 8, 243–249.
10.Otani, T. and Seike, N. (2007). Rootstock control of fruit dieldrin concentration in grafted cucumber (Cucurmis sativus). J. Pesticide Sci, 32, 235-242.
11.Poolpak, T., Pokethitiyook, P., Krautrachue, M., Arjarasirikoon, U. and Thanwaniwat, N. (2008). Residues analysis of orgaochlorine pesticides in the Mae Klong river of central Thailand. J. Hazard. Mat, 156, 230-239.
12.Sverdrup, L. E., Krogh, P. H., Nielsen, T., Kjaer, C. and Stenessen, J. (2003). Toxicity of eight polycyclic aromatic hydrocarbons to red clover (Trifolium pretense)
ryegrass (Lolium perenne) and mustard (Sinapsis alba). Chemosphere, 53, 993-1003.
13.Sverdrup, L. E., Hagen, S. B., Krogh, P. H. and van Gestel, C. A. M. (2007). Benzo[a] pyrene shows low toxicity to three species of terrestrial plants, two soil
invertebrates, and soil-nitrifying bacteria. Ecotoxicol. Environ. Safe, 66, 362-368.
14.Thapinta, A. and Hudak, P.F. (2003). Use of geographic information systems for assessing groundwater pollution potential by pesticides in central Thailand. Environ. Int, 29, 87-93.
15.Whitefield-Åslund, M. L. W., Lunney, A. L., Rutterand, A. and Zeeb, B. A. (2010). Effects of amendments on the uptake and distribution of DDT in Cucurbita pepo spp. pepo plants. Environ. Pollut, 158, 508-513.