การใช้ประโยชน์ของเถ้าใยปาล์มน้ำมันเป็นตัวเติมในกระเบื้องดินเผา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นของเสียมาจากเชื้อเพลิงเศษวัสดุหีบปาล์มน้ำมันของโรงงานน้ำมันปาล์มเป็นตัวเติมในกระเบื้องดินเผา แทนที่ดินเหนียวในอัตราส่วนร้อยละ 0 10 20 และ 30 โดยน้ำหนัก เตรียมกระเบื้องตัวอย่างขนาด 100x100x7 มิลลิเมตร ขึ้นรูปด้วยวิธีอัดแห้งไฮดรอลิกที่ 100 บาร์ และเผาที่อุณหภูมิ 1,000 และ 1,100 องศาเซลเซียสกระเบื้องตัวอย่างได้ตรวจสอบความได้ฉาก ความหนาแน่นรวม น้ำหนักสูญหายหลังเผาการหดตัวหลังเผา การดูดซึมน้ำความแข็งแบบชอร์ โมดูลัสแตกร้าว และความคงทนต่อสารเคมีตรวจลักษณะของตัวอย่างด้วยวิธีการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการทดลองระบุว่า ส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดแก่การผลิตคือ เถ้าปาล์มน้ำมันร้อยละ 30 เผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ลายพิมพ์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของตัวอย่างที่เด่นแสดงผลเกิดวัฎภาคแร่ประกอบด้วย ควอตซ์ ฮีมาไทต์ และอะนอร์ไทต์ ภาพถ่ายกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงแร่ดังกล่าวได้ฝังตัวอยู่ในเนื้อกระเบื้องที่เผาผนึก กระเบื้องดินเผามีสมบัติใกล้เคียงตามเกณฑ์กระเบื้องเซรามิกของ มอก. 2508-2555
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ดนุพล ตันนโยภาส และนันทิยา ลิมป์วนัสพงศ์. (2547). การใช้ประโยชน์จากเศษถ่านกะลาปาล์มเหลือไหม้เติมในอิฐดิน. การประชุมวิชาการด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ วัสดุและปิโตรเลียมครั้งที่ 7, 1-3 ธันวาคม 2547. เชียงใหม่ : โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว.
3.ดนุพล ตันนโยภาส, มาหามะสูไฮมี มะแซ และกุมพล รามรังสฤทธิ์. (2548). ลักษณะกระเบื้องดินเผาผสมเศษขวดแก้ว. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 4, 8-9 ธันวาคม 2548. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
4.ดนุพล ตันนโยภาส และอภิภูมิ พลซา. (2548). คุณประโยชน์ของเถ้าเชื้อเพลิงใยปาล์มน้ำมันในการทำอิฐดินเผาก่อสร้าง. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 4, 8-9 ธันวาคม 2548.สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
5.ดนุพล ตันนโยภาส, พีระพงศ์ ทีฆสกุล, และสราวุธ จริตงาม. (2550). การผสมเถ้าจากใยปาล์มน้ำมันใส่ในอิฐดินเผา. การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6,7-9 มีนาคม 2550. พิษณุโลก : โรงแรมอัมรินทร์ลากูน
6.ดนุพล ตันนโยภาส. (2552). วิทยาแร่. (พิมพ์ครั้งที่ 2.) สงขลา : ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
7.ดนุพล ตันนโยภาส, จิระวรรณ หนูฤทธิ์ และสุชาติ จันทรมณีย์. (2553ก). สมบัติของกระเบื้องดินเผาสทิ้งพระที่ผสมแคลไซต์และตะกอนทิ้งจากโรงกรองน้ำประปา.การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 8, 22-23 เมษายน 2553. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
8.ดนุพล ตันนโยภาส, ปาจรีย์ เกิดกูล และสุชาติ จันทรมณีย์. (2553ข). ผลกระทบของการเติมผงหินพัมมิซที่มีต่อสมบัติและโครงสร้างจุลภาคของเนื้อดินสทิ้งพระสำหรับการผลิตกระเบื้อง. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 8, 22-23 เมษายน 2553. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
9.ดนุพล ตันนโยภาส, กัลยาณี คุปตานนท์ และสิริพร รัตนมณี. (2553ค). การพัฒนาส่วนประกอบของกระเบื้องดินเผาเน้นใช้ดินสทิงพระกับผงหินปูน. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 20, 16-18 กันยายน 2553. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
10.ดนุพล ตันนโยภาส, ธรณิศร จิตรพิศาล และสุชาติ จันทรมณีย์. (2553ง). สมบัติของกระเบื้องเซรามิก ที่ทำจากหินชนวนเติมเถ้าแกลบดำ. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ครั้งที่ 8, 22-23 เมษายน 2553. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
11.ดนุพล ตันนโยภาส, วรัญรัตน์ แก้วสมบูรณ์ และสุชาติ จันทรมณีย์. (2553จ). คุณลักษณะกระเบื้องเซรามิกผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมร่วมกับเถ้าใยปาล์มน้ำมัน.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 12, 149-159.
12.ดนุพล ตันนโยภาส, กัลยาณี คุปตานนท์, หทัยทิพย์ พันฤทธิ์ดำ และสุชาติ จันทรมณีย์. (2557).กระเบื้องเซรามิกมวลเบาชนิดใหม่ทำจากหางแร่ดินขาวและเถ้าลอยไม้ยางพารา.วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 7, 70-82.
13.มอก. 2398. (2553). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก เล่ม 2 วิธีตรวจสอบมิติและคุณภาพผิวหน้า.
14.มอก. 2398. (2553). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก เล่ม 3 วิธีหาการดูดซึมน้ำความพรุนปรากฏ ความหนาแน่นสัมพัทธ์ปรากฏ และความหนาแน่นรวม.
15.มอก. 2398. (2553). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก เล่ม 4 วิธีหามอดุลัสแตกร้าวและความต้านแรงกดแตก.
16.มอก. 2398. (2553). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก เล่ม 13 วิธีหาความทนสารเคมี.
17.มอก. 2508. (2555). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก.
18.สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 43.
19.Demir, I. (2008). Effect of organic residues addition on the technological properties of clay bricks. Waste Management, 28, 622–627.
20.Kooptarnond, K. and Tonnayopas, D. (2007). Using weathered granite for ceramic tile production. Int. Conf. Recycling and Waste Processing: Materials Recovery
from Wastes; Bateries and Co/Ni; Precious Metal Recovery; and Other Non Ferous, TMS (The Minerals, Metals & Materials Society), Florida: Orlando.
21.Pinatti, D. G., Conte, R. A., Borlini, M. C., Santos, B. C., Oliveira, I., Vieira, C. M. F., and Monteiro, S. N. (2006). Incorporation of the ash from cellulignin into
vitrified ceramic tiles. Journal of the European Ceramic Society, 26, 305–310.
22.Prasad, C.S., Maiti, K.N., and Venugopal, R. (2001). Effect of rice husk ash in whiteware compositions. Ceramics International, 27, 629–635.
23.Segadaes, A. M., Carvalho, M. A., and Acchar, W. (2005). Using marble and granite rejects to enhance the processing of clay products. Applied Clay Science,
30, 42– 52.
24.Tonnayopas, D., Kooptarnond, K. and Masae, M. (2009). Novel ecological tiles made with granite fine quarry waste and oil palm fiber ash. Thammasat International
Journal of Science and Technology (TIJSAT), 14, 10-20.