การศึกษาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานจากการใช้ชุดการสอนด้วยเพลงของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โรงเรียนประเสริฐอิสลาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานก่อนและหลังจากการใช้ชุดการสอนด้วยเพลงของนักเรียนโรงเรียนประเสริฐอิสลามที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านคำพื้นฐานซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากแบบการทดสอบสติปัญญา Wechsler Intelligence Scale for Children Third Edition ฉบับภาษาไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบ Wide Range Achievement Test-Thai ได้ระดับ
สติปัญญาอยู่ระหว่าง 90-109 และมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยเพลง บัตรภาพ บัตรคำ ใบงาน และแบบประเมินความสามารถด้านการอ่านคำพื้นฐาน ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.8 ขึ้นไป ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยชนิด One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ Nonparametric แบบ The Wilcoxon Matched - Signed - Ranks Test จากการวิจัยพบว่า หลังการสอนด้วยชุดการสอนด้วยเพลง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านคำพื้นฐานด้านความเข้าใจ และด้านความจำสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนได้รับการสอนทุกด้าน คะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านการอ่านคำพื้นฐาน ความเข้าใจ และความจำของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนน้อยกว่าก่อนเรียนทุกด้าน แสดงให้เห็นว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถใกล้เคียงกันมากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความสามารถด้านการอ่าน ด้านความเข้าใจ และด้านความจำก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.จินดา อุ่นทอง. (2549). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,คณะศึกษาศาสตร์, สาขาการศึกษาพิเศษ.
3.ดาราณีย์ จันทร์หอม. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านคำของเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำคล้องจอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาการศึกษาพิเศษ.
4.ประภาพันธ์ นิลอรุณ (2530). การศึกษาความพร้อมในการอ่าน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
5.วินัดดา ปิยะศิลป์ และพนม เกตุมาน. (2545). ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.
6.สุจริต เพียรชอบ. (2531). การใช้เพลงประกอบการสอนภาษาไทย. นครสวรรค์ : ราชภัฎนครสวรรค์.
7.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). เทคนิค วิธีการ และสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
8.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2538). คู่มือครูการดำเนินการสำรวจเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.