การเปรียบเทียบปริมาณเพกทินจากซังขนุนหนังจำปากรอบ โดยการสกัดด้วยน้ำร้อนและความดันไอสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เพกทินเป็นสารพอลิแซกคาไรด์ที่มีอยู่ในพืชและผลไม้หลายชนิด เช่น กล้วย ขนุนและผักกาดขาว เป็นต้น ในงานวิจัยนี้ได้สกัดเพกทินจากซังขนุนหนังจำปากรอบ โดยใช้วิธีการสกัดเพกทิน 2 วิธี คือ ใช้น้ำร้อนและความดันไอสูง เพื่อเปรียบเทียบปริมาณเพกทินที่สกัดได้พบว่า วิธีการสกัดด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที สามารถสกัดเพกทินจากซังขนุนหนังได้ 15.69% และวิธีการสกัดเพกทินด้วยความดันไอสูงที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที สามารถสกัดเพกทินจากซังขนุนหนังได้ 24.63% ซึ่งมากพอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยใช้เวลา 60 นาที เมื่อทำการตรวจสอบสมบัติทางเคมีและกายภาพของเพกทินที่สกัดได้ โดยใช้ความดันไอสูงที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส พบว่ามีปริมาณความชื้นเท่ากับ 7.25% มีปริมาณเถ้า 3.85% น้ำหนักสมมูล 738.00 ปริมาณเมทอกซี 7.62% ระดับการเกิดเอสเทอร์ 57.77% ปริมาณกรดกาแลคทูโรนิค 319.61 มิลลิกรัม หรือ 85.67% ซึ่งมีค่าแตกต่างกับเพกทินทางการค้าอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นค่าระดับการเกิดเอสเทอร์
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ขนิษฐา เลิกชัยภูมิ. (2545). การสกัดเพกตินจากส้มมะงั่วและการใช้ประโยชน์ในระบบอาหาร.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
3.จิตโสภิญ กะสงค์. (2543). การสกัดเพกทินจากมะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์, สาขาวิชาเคมี.
4.ธนูศักดิ์ ยอดดำเนิน. (2543). การผลิตแยมโดยใช้เพกทินจากเปลือกส้มโอพันธุ์ท่าข่อย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์, สาขาวิชาเคมี.
5.นัยทัศน์ ภู่ศรัณย์. (2530). การสกัดเพกทินจากส่วนที่เหลือใช้ของจำปาดะ. วาสารสงขลานครินทร์ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9, 99 –104.
6.ปิยฉัตร ศรีสัตบุตร. (2542). การเก็บรักษาขนุนทั้งผลและยวงขนุนสดภายใต้อุณหภูมิต่ำ.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7.พวงทอง ใจสันติ์, จิตรา กลิ่นหอม และอัจฉรา เทียมภักดี. (2541). การทดสอบการใช้เพกทินที่สกัดได้จากเปลือกเสาวรสในการผลิตแยม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8.มานพ เหลืองพันธุ์. (2543). การปลูกขนุน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์.
9.Banda-Reyes, L. (no date). Pectin extraction from tojocote pulp by autoclave.Retrieved December 20, 2012, from: http://ift.confex.com/ift/2005/techprogram/
paper_30862.htm.
10.Martinez-Sanchez, C. E. (no date). Pectin extraction from passion fruit peel by autoclave. Retrieved December 20, 2012, from: http://ift.confex.com/ift/2005/
techprogram/paper_30862.htm.
11.Sriamornsak, P. (2001-2002). Pectin: The role in health. Silpakorn University Journal,21-22, 60-77.
12.Steven, N., Philip, E. S. and Mathew, K. (1977). Citrus Science and Technology. California: University of California.
13.The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives. (1984). Anticaking agent, buffering agent, salt, emulsifiers, enzyme, extracted solvents, flavouring
agent and miscellaneous food additive in Compendium of Food Additive
14.Specifications. (no date). Rome: FAO Food and Nutrition.