ความหลากหลายของนกบนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จตุภูมิ มีเสนา
นริทธิ์ สีตะสุวรรณ
สตีเฟน เอลเลียต

บทคัดย่อ

ดอยแม่สลองตั้งอยู่ในเทือกเขาแดนลาวและมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนพม่า มีความสูงเฉลี่ย 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และข้อมูลความหลากหลายของนกยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงได้ทำการศึกษาและสำรวจความหลากหลายของนก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยเก็บข้อมูลความหลากชนิดของนกด้วยวิธี Point Count จำนวน 30 แปลง ประกอบด้วย (1) ป่าปฐมภูมิ 7 แปลง (2) ป่าทุติยภูมิ 11 แปลง และ (3) พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (ไร่ชา 2 แปลง สวนลิ้นจี่ 2 แปลง สวนยางพารา 2 แปลง ทุ่งหญ้า 2 แปลง แปลงปลูกพืชเพื่อฟื้นฟูป่าอายุ 2 ปี 1 แปลง และสวนสนปลูก 3 แปลง) 12 แปลง พบนก 167 ชนิด จาก 44 วงศ์ 11 อันดับเป็นนกประจำถิ่น 134 ชนิด และนกอพยพ 33 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีความหลากชนิดด้วย Shannon’s Index, H’ พบว่า ในป่าทุติยภูมิมีค่าความหลากชนิดใกล้เคียงกับป่าปฐมภูมิ (H’ = 3.395 และ H’ = 3.316) และพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่ามีค่าความหลากชนิดของนกน้อยที่สุด (H’ = 2.905) ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ Evenness’s Index มีค่าสูงสุดในแปลงป่าทุติยภูมิ (E = 0.910) รองลงมาคือ ป่าปฐมภูมิและพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (E = 0.893 และ 0.865 ตามลำดับ) และแปลงป่าปฐมภูมิกับแปลงป่าทุติยภูมิมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันหรือ Sorensen Index, CS สูงที่สุด (ร้อยละ 70.09) และพบความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุดระหว่างป่าทุติยภูมิกับพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (ร้อยละ 61.19) วิเคราะห์ค่าความถี่ของโอกาสที่จะพบชนิดนกประจำถิ่นในแต่ละพื้นที่ศึกษาพบว่า นกกระปูด (Centropus sinensis) เป็นชนิดนกที่มีค่าความถี่ของโอกาสที่จะพบนกมากที่สุด รองลงมาคือ นกปรอดหัวสีเขม่า (Pycnonotus aurigaster) ตามลำดับ จากค่าดัชนีต่างๆ พบว่า ความหลากหลายของนกในพื้นที่ดอยแม่สลองอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปหรือพบได้บ่อยครั้ง (generalist species) และมีการ กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากพื้นที่ถูกรบกวนอย่างมากจากกิจกรรมของมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย. (2555). รายชอื่ นกในประเทศไทย [ออนไลน] .ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555, จาก : http://www.bcst.or.th.
2.สวัสดิ์ สนิทจันทร์. (2540). องค์ประกอบชนิดของนกบริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3.โอภาส ขอบเขตต์. (2544). หนังสือชุดนกในเมืองไทย เล่ม 1-5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี.
4.Bowman, M., Heckman, S. and Krauss, D. (2003). An analysis of bird and tree diversity in Edmands Park, Newton, MA. Department of Biology. Boston: Boston College.
5.Cody, L. M. (1974). Competition and The Structure of Bird Communities. New Jersey: Princeton University Press.
6.Elloitt, S. and Maxwell, J. F. (2001). Vegetation and vascular flora of Doi Suthape-Pui National Park, northern Thailand. CMU Herbarium, Department of Biology, Faculty of Science. Chiang Mai: Chiang Mai University.
7.Hulme, M. and Siriwardena, G. (2010). UK National Ecosystems Assessment -Breeding Bird diversity as a function of Land Cover, Report to the Economics Team of the UK National Ecosystem Assessment. UK NEA Economic Analysis Report. British Trust for Ornithology, The Nunnery. Norfolk: Thetford.
8.Lehouck, V., Spanhove, T., Vangestel, C., Cordeiro, N. J. and Lens, L. (2009). Does landscape structure affect resource tracking by avian frugivores in a fragmented
Afrotropical forest?. Ecography, 32, 789-799.
9.Lekagul, B. and Round, P. D. (2006). A Guide to the Birds of Thailand. 2nd edition. Bangkok: Saha Karn Bhaet Co., Ltd.
10.Raabová, J., Münzbergová, Z. and Fischer, M. (2007). Ecological rather than geographic or genetic distance affects local adaptation of the rare perennial herb, Aster
amellus. Biol. Conserv.,139, 348-357.
11.Sanguansombat, W. (2005). Thailand Red Data: Birds. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning.
12.Shannon, C. E. and Weaver, W. (1949). The Mathematical Theory of Communication. Illinois: University of Illinois Press.
13.Sorensen, T. A. (1948). A method of establishing groups of equal amplitude in plant sociology based on similarity of species content, and its application to analyses of the vegetation on Danish commons. K dan Vidensk Selsk Biol. Skr., 5, 1-34.
14.Toktang, T. (2005). The effects of forest restoration on the species diversity and composition of a bird community in northern Thailand. Graduate School. Chiang Mai: Chiang Mai University.
15.Turner, I. M. and Corlett, R. T. (1996). The conservation value of small, isolated fragments of lowland tropical rain forest. Trends Ecol Evol, 11, 330-333.