การพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่ระดับน้ำต่ำอย่างง่าย

Main Article Content

อีลีหย๊ะ สนิโซ
ฮูเซ็ง ชายดานา

บทคัดย่อ

การผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำที่มีระดับแรงดันเนื่องจากความต่างระดับของน้ำต่ำ ไม่จำเป็นต้องกักเก็บน้ำ อาศัยแหล่งน้ำหรือลำธารที่ไหลผ่านตลอดปี สามารถปิดการทำงานได้เมื่อไม่มีน้ำจากลำธารไหลผ่านหรือมีฝนตกน้อย ด้วยเหตุนี้การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วจึงมีความสำคัญ การวิจัยนี้จึงศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบอิสระขนาดจิ๋วอย่างง่าย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ณ มูลนิธิสุขแก้วแก้วแดง จากการศึกษาพบว่า สามารถติดตั้งและผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วแบบคอยาวซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 114.3 – 217.0 โวลต์ และมีกระแสไฟฟ้า 0.193. – 0.384 แอมแปร์ ที่ความต่างระดับของน้ำ 85 เซนติเมตร สมรรถนะในรูปของประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้ามีค่าร้อยละ 51.95 – 98.62 สามารถใช้กับหลอดไฟ เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์การก่อสร้างบางชนิด อย่างไรก็ดีควรปรับปรุงโดยการติดตั้งชุดเก็บประจุไฟฟ้า (แบตเตอรี) และอินเวอร์เตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2). (2556). จากการใช้พลังงานช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556. วารสารนโยบายพลังงาน, 25(101), 59-64.
2.ไกรพัฒน์ จีนขจร. (2551). พลังงานหมุนเวียน. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
3.คมสัน หุตะแพทย์. (2551). เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบไทยๆ. เกษตรกรรมธรรมชาติ,11(9), 11-13.
4.ณัฐภูมิ สุดแก้ว. (2551). ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วจากไดชาร์ท : กังหันน้ำสร้างได้ง่ายต้นทุนต่ำ.เกษตรกรรมธรรมชาติ, 11(9), 14-21.
5.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร จำนง สรพิพัฒน์ สุรพงษ์ จิระรัตนานนท์ อำนาจ ชิดไธสง สุนีรัตน์ พิพัฒน์
6.มโนมัย นวดล เหล่าศิริพจน์ และอธิคม บางวิวัฒน์. (2550). ทางเลือกพลังงานเพื่อดับโลกร้อน. บันฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : วี วิชช์.
7.ระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนพึ่งตนเอง. (2551). เกษตรกรรมธรรมชาติ, 11(9), 22-25.
8.สถานการณ์พลังงานไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556. (2556). วารสารนโยบายพลังงาน,25 (101), 17-34.
9.Akhtar, M. S., Khan, M. A., Jeon, M. S. and Yang, O. B. (2008). Controlled synthesis of various Zno nanostructured materials by capping agents-assisted hydrothermal
method for dye-sensitized solar cells. Electrochimica acta, 52, 7869-7874.
10.Alexander, K. V. and Giddens, E. P. (2008). Microhydro: Cost-effective, modular systems for low heads. Renewable energy, 33, 1379-1391.
11.David, J., Smith, M. and Hart, M. (2008). Climate change implications for wind power resources in the Northwest United States. Renewable energy, 33, 2393-2406.
12.Green, J., Fuentes, M., Rai, K., and Taylor, S. (2005). Stimulating the Picohydropower Market for Low-Income Households in Ecuador. Washington D.C: The
international bank for reconstruction and development/THE WORLD BANK.
13.Palanichamy, C., Sundar, N. and Nadarajan, C. (2002). Municipal solid waste fueled power generation for India. IEEE Transactions on energy conversion, 17(4), 556-563.