การสื่อสารด้วยเสียงของนกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุรชัย มูลมวล
นริทธิ์ สีตะสุวรรณ
สวัสดิ์ สนิทจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเสียงร้องที่ใช้ในการสื่อสารของนกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยพื้นที่ศึกษาเป็นแหล่งเกาะนอนของนกที่รวมฝูงกันบริเวณหน้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง เก็บข้อมูลเสียงร้องตามเทคนิคการบันทึกเสียงของนกด้วยเครื่องบันทึกเสียง จากการวิเคราะห์เสียงพบว่าเสียงร้องของนกเอี้ยงสาริกามีคลังของ element (repertoire) ที่แบ่งกลุ่มตามลักษณะรูปแบบได้เป็น 12 กลุ่มใหญ่ และมีกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม โดยมีจำนวน element ทั้งหมด 341 รูปแบบเมื่อแบ่งเสียงร้องตามลักษณะโครงสร้างและความซับซ้อน สามารถจัดกลุ่มเสียงร้องสื่อสารได้เป็น (1) เสียงร้องหรือ call ซึ่งเป็นเสียงร้องสั้นๆ โครงสร้างไม่ซับซ้อนเกิดจากการนำ elementมาเรียงต่อกันเป็นประโยคที่ง่าย มีความหมายได้หลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของ call นั้นๆ โดยสามารถแบ่ง call ตามหน้าที่และความหมายจากพฤติกรรมที่แสดงออกขณะส่งเสียงร้องออกเป็น 5 รูปแบบ คือ aggressive call หรือเสียงร้องแสดงความก้าวร้าว alert call หรือเสียงร้องเตือนตัวเอง alarm call หรือเสียงร้องเตือนภัย exciting call หรือเสียงร้องแสดงความตื่นเต้น และ contact call หรือเสียงร้องติดต่อกับตัวอื่น (2) บทเพลงเทียมหรือ sub - songเป็นบทเพลงที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีหลายรูปแบบและความหมาย โดยพบว่ามีคลังเพลงทั้งหมด 285 รูปแบบ เป็นเสียงร้องที่นกใช้ในการสื่อสารบ่อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.จารุจินต์ นภีตะภัฎ, กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. (2550). นกเมืองไทย. กรุงเทพ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
2.นริทธิ์ สีตะสุวรรณ. (2547). พฤติกรรมวิทยา. เชียงใหม่ : หน่วยพิมพ์เอกสารภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3.พัฒนา ธนากร. (2537). การสื่อสารด้วยเสียงของนกวงศ์นกเอี้ยง. การค้นคว้าอิสระเชิงวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนชีววิทยา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4.สุรกานต์ พยัคบุตร. (2554). บทบาทของเสียงร้องแสดงความก้าวร้าว เสียงร้องเตือนภัยและเสียงร้อง แสดงความตกใจสุดขีดระดับวิกฤตของนกปรอดหัวสีเขม่า ในฐานะที่เป็นเสียงร้องสื่อสารที่เข้าใจกันได้ระหว่างนกต่างชนิด. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย, 18(1), 72-81.
5.โอภาส ขอบเขต. (2539). นกในเมืองไทยเล่ม 1.กรุงเทพ : สารคดี.
6.Armstrong, E. A. (1973). A Study of Bird Song. New York: Dover.
7.Beckers, G. J. L., Suthers, R. A. and ten Cate, C. (2003). Mechanisms of Frequency and Amplitude Modulation in Ring Dove Song. J. Exp. Biol., 206(11), 1833–1843.
8.Brackenbury, J. H. (1989). Functions of the Syrinx and the Control of Sound Production. King & McLelland (Ed.), chapter 4, 193–220.
9.Brainard, M. S. and Doupe, A. J. (2002). What Songbirds Teach us about Learning. Nature, 417, 351-358.
10.Brumm, H. (2004). The Impact of Environmental Noise on Song Amplitude in a Territorial Bird. Anim. Ecol., 73, 434-440.
11.Catchpole, C. K. (1979). Vocal Communication in Birds. London: Edward Arnold.
12.Catchpole, C. K. and Slater, P. J. B. (1995). Bird Song: Biological Themes and Variations. Cambridge: Cambridge University Press.
13.Chris, F. and Craig, A. (1998). Starlings and Mynas. London: Christopher Helm.
14.Ewert, D.N. and Kroodsma, D. E. (1994). Song sharing and repertoires among migratory and resident rufous-sided towhees. COS, 96, 190-196.
15.Fagerlund, S. (2004). Acoustic and Physical Models of Bird Sounds. Seminar in Acoustics. HUT, Laboratory of Acoustics and Audio Signal Processing, Helsinki University of Technology.
16.Gaunt, A. S. (1983). A Hypothesis Concerning the Relationship of Syringeal Structure to Vocal Abilities. AOU, 100, 853–862.
17.King, A. S. (1989). Functional Analysis of the Syrinx. In King & McLelland (Ed.), chapter 3, 105-192.
18.Krebs, J. R. and Kroodsma, D. E. (1980). Repertoires and Geographical Variation in Bird Song. Adv. Study Behav., 11, 143–177.
19.Markula, A. Hannan, J. M. and Csurhes, S. (2009). Pest Animal Risk Assessment Indian: Common Myna. The State of Queensland: Department of Employment,
Economic Development and Innovation.
20.Marler, P. (2004). Bird calls: Their Potential for Behavior Neurobiology. Ann. N. Y. Acad. Sci, 1016, 31-44.
21.Marler, P. and Slabbekoorn, H. (2004). Nature’ s Music: The Science of Bird Song. San Diego: Elsevier Academic Press.
22.Nottebohm, F. (1972). The Origins of Vocal Learning. Am. Nat, 106, 116-140.
23.Nowicki, S. (1997). Bird Acoustics. In Crocker, M. J. (ed.), Encyclopedia of Acoustics. In Wiley, J. and Sons (Ed.), chapter 150, 1813–1817.
24.Stutchbury, B. J. M. and Morton, E. S. (2001). Behavioral Ecology of Tropical Birds. United States: Academic Press.