ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ของ อสม. อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัย พบว่า อสม. มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกระดับมาก ร้อยละ 71.6 (X= 12.34+1.78) มีความเชื่อความสามารถตนเองระดับมาก ร้อยละ 76.9 (X= 8.39+1.32) ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมระดับมาก ร้อยละ 47.2 (X= 2.40+0.62) และการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกระดับมากร้อยละ 57.5 (X= 2.52+0.61) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เขตที่อยู่อาศัย อายุ ระดับการศึกษา และการได้รับความรู้โรคไข้หวัดนกมีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (p value = 0.016, 0.036, 0.007 และ < 0.001 ตามลำดับ) ความเชื่อความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (p value = 0.018) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (p value < 0.001) ผลกการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกโดย อสม. ให้เป็นไปตามที่ต้องการ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น