โครงสร้างกายภาพของระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด

Main Article Content

เชิดตระกูล หอมจำปา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ และสร้างแบบจำลองโครงสร้างทางกายภาพของระบบดาวคู่แบบใกล้ชิดซีอี ลีโอนิส (CE Leonis) นอกจากนี้ยังศึกษาการเปลี่ยนแปลงคาบดับเบิลยู เพื่อวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการของระบบดาวคู่ซีอี ลีโอนิส ซึ่งเป็นระบบดาวคู่แบบใกล้ชิดชนิด ดับเบิลยู เออร์ซา เมเจอร์ (W Ursa Majoris) มีคาบวงโคจรบังกันประมาณ 0.303 วัน โดยได้ทำการสังเกตการณ์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงริชี-เครเทียน (Ritchey-Chretien) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ต่อเข้าด้วยกล้องซีซีดีโฟโตมิเตอร์ SBIG ST10-XME ขนาด 1,024 × 1,024 พิกเซล โดยใช้แผ่นกรองแสงระบบยูบีวี (UBV System) เฉพาะสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง จากการวิเคราะห์กราฟแสงโดยใช้โปรแกรมวิลสัน-เดวินนี คำนวณหาค่าหารามิเตอร์ของระบบดาวคู่ พบว่าลักษณะทางกายภาพระบบดาวทุติยภูมิมีอุณหภูมิ 5,039 เคลวิน มีค่ามุมเอียงเฉลี่ย87.4+0.4องสา และมีค่าอัตราส่วนมวล (q) เฉลี่ย1.99 ± 0.01 ซึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงไปจากงานวิจัยในอดีตที่มีค่า q < 1 นั่นคือระบบดาวคู่ซีอี ลีโอนิส เปลี่ยนแปลงจากชนิด EA ไปเป็น EW จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า ระบบดาวคู่ซีอี ลีโอนิสประกอบด้วยดาวทั้งสองดวงที่มีค่าอุณหภูมิไม่ต่างกันมาก จัดเป็นดาวคู่แบบใกล้ชิดชนิดดับเบิลยู เออร์ซา เมเจอร์ และมีแบบจำลองโครงสร้างทางกายภาพของระบบดาวคู่แบบแตะกัน (Contact binaries)

Article Details

บท
บทความวิจัย