การหมุนเวียนนำซากแบตเตอรี่มาใช้ใหม่ : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกลยุทธ์ส่งเสริม

Main Article Content

Chainarong Apinhapath
Chanuantong Tanasugarn
Paranee Vatanasomboon
Natkamol Chansatitporn
Allan Steckier

บทคัดย่อ

จากการทบทวนทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำโลหะในซากแบตเตอรี่ กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ปรากฏว่า ทฤษฎีการกระทำอย่างมีแบบแผน (Theory of Planned Behavior-TPB) ซึ่งกล่าวอ้างความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ทัศนคติ บรรทัดฐานของสังคม ความเชื่อมั่นในตนเอง ความตั้งใจ และพฤติกรรม เป็นทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบและอ้างอิงบ่อยที่สุดในการศึกษาเกี่ยวกับการนำ วัสดุกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ทฤษฎีที่ได้รับการศึกษารองลงมา คือ Altruistics Behavior Model ส่วนแบบจำลองแบบแผนความเชื่อ และ Neutralization theory ได้รับการศึกษาเพียงทฤษฎีละหนึ่งการศึกษาเท่านั้น การศึกษาแสดงให้เห็นความสามารถในการทำนายของปัจจัยอื่นที่เพิ่มเติมในทฤษฎี การกระทำอย่างมีแบบแผน รวมทั้งได้แสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องของปัจจัยในระดับนโยบายและองค์กร และปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ด้วย การทบทวนนี้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรม การนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายระดับ มาตรการที่ใช้ส่งเสริมการนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่มีทั้งมาตรการที่ดำเนิน การก่อนเกิดพฤติกรรม และหลังพฤติกรรมดำเนินไปแล้ว การให้สัตยบรรณ การลดอุปสรรค และการให้ข้อมูลย้อนกลับดูเหมือนจะเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับส่ง เสริมให้นำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่

Article Details

บท
บทความปริทัศน์