ระบำลีลานาฏกะ

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ช่างสาน

บทคัดย่อ

ระบำลีลานาฏกะ เป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงมหรสพการเล่น เงาของคนในภาคใต้ มีขั้นตอนจากการศึกษาองค์ประกอบของการเล่นหนังตะลุง คือ นำเอาเอกลักษณ์บางประการ เช่น ผู้เชิด ตัวหนัง และบทเพลง มาจากขั้นตอนการเล่นหนังตะลุง จากนั้นมีการทบทวนวรรณกรรม เพื่อตรวจสอบองค์ความรู้ที่ถูกต้อง แล้วจึงพัฒนาท่ารำ เพลง และเครื่องแต่งกาย สุดท้ายมีการประเมินผลเพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของผู้ชม ทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวเป็นไปตามกระบวนการทำโครงการ การพัฒนาท่ารำระบำลีลานาฏกะเป็นการนำเสนอเทคนิคการบูรณาการโดยต้องคำนึงสาระ ใน 2 ประเด็นคือ พื้นฐานการสร้างจินตนาการ ตัวศิลปินที่ต้องมีความรู้ความสามารถทั้งวิชาการเล่นหนังตะลุง และศิลปะทางการด้านการแสดงนาฏศิลป์ พร้อมกันนี้ต้องมีความรู้ในการเลียนแบบสร้างจินตนาการ ซึ่งจะปรากฏในท่ารำมี 3 ลักษณะ คือท่าออก ท่ารำ และท่าจบ เป็นท่าที่พัฒนาเกิดจากพฤติกรรมการเชิดตัวหนัง ท่ารำโนรา และท่ารำเพลงแม่บท สิ่งที่เป็นความรู้เสริมในการสร้างสรรค์ระบำลีลานาฏกะในครั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้ชุดระบำมีความสมบูรณ์งดงาม และง่ายต่อการสร้างสรรค์ คือ ความรู้เกี่ยวกับเพลงและดนตรี การสร้างเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และการเคลื่อนไหวประกอบการแสดง อย่างไรก็ตามการประดิษฐ์สร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ศิลปินผู้ สร้างสรรค์ผลงานจะต้องรอบคอบ และต้องคำนึงถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมทั้งต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อประเทศชาติตามลำดับ

Article Details

บท
บทความปริทัศน์