การเสริมไขมันเพื่อการสังเคราะห์กรดลิโนลิอิกเชิงซ้อนในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

Main Article Content

จารุณี หนูละออง

บทคัดย่อ

กรดลิโนลิอิกเชิงซ้อน (Conjugated Linoleic Acids: CLA) เป็นลักษณะ (ไอโซเมอร์) ของกรดไขมัน Linoleic พบมากที่สุดมี 2 ลักษณะ คือ cis9, tran11- Octadecadienoic acid และ tran10, cis12 -Octadecadienoic acid ในด้านโภชนาการ พบว่า CLA โดยเฉพาะ CLA จากน้ำนมแพะเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก หากบริโภคน้ำนมแพะที่มี CLA ประกอบอยู่มากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ การที่จะให้ร่างกายได้รับ CLA ในปริมาณเพิ่มขึ้นสามารถทำได้ โดยรับประทานอาหารที่มี CLA หรือดื่มนมที่มี CLA สูง จากการเพิ่ม CLA ในอาหารสัตว์ ดังผลการวิจัยพบว่า เมื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องได้รับหญ้าสดจะมี CLA ในน้ำนมเพิ่มขึ้น และการใช้น้ำมันลินซีด และน้ำมันเมล็ดทานตะวัน ผสมในอาหารจะทำให้ CLA ในไขมันนมเพิ่มขึ้น ซึ่งกรณีเสริมน้ำมันลินซีดในอาหารสัตว์ทำให้ร้อยละของกรดไขมัน linolenic และ isomer cis-9, trans-11 ในน้ำนมสูงขึ้น ขณะที่การใช้น้ำมันทานตะวันทำให้มีกรดไขมัน linoleic, trans-vaccenic และ cis-9, trans-11 CLA (rumenic acids) ในนมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการผลิตนมจากสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มี CLA สูงสามารถทำได้โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มี CLA สูง เป็นส่วนประกอบอาหารสัตว์

Article Details

บท
บทความวิจัย