ความสัมพันธ์เชิงนิเวศวิทยาและสัณฐานวิทยากายภาพ ของ สาหร่ายเตา Spirogyra sp. ในภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณสมบัติเชิงโมเลกุล และนิเวศวิทยาเฉพาะของสาหร่ายเตา Spirogyra spp. ในประเทศไทย โดยใช้ เครื่องหมาย HAT-RAPD นอกจากนั้นปัจจัยทางชีววิทยา เช่น ขนาดของเซลล์ (ความกว้าง และความยาว) จำนวนของ chloroplast spiral และ granules รวมทั้ง ปัจจัยทางนิเวศวิทยา เช่น ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ (TDS) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) ความเค็มของน้ำ (salinity) และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (conductivity) ยังถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีววิทยา และ นิเวศวิทยา จากจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 11 จุด ในภาคเหนือ ผลการจัดกลุ่มปัจจัยทางนิเวศวิทยาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนั้นยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปัจจัยทางชีวภาพ โดยสามารถจัดกลุ่มลักษณะสัณฐานของตัวอย่างสาหร่ายได้ 5 กลุ่มจากทั้งหมด 11 ตัวอย่าง (p<0.05) พบว่าปัจจัยหลักที่ใช้ในการจัดกลุ่มคือ จำนวนและการจัดเรียงตัวของเกลียว chloroplast เป็นที่น่าสนใจว่า จากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์พบว่า ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัยทางชีวภาพทุกปัจจัย ขณะที่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดและ จำนวน chloroplast spiral ผลการศึกษาทางอณูชีววิทยาพบว่าลักษณะของแถบดีเอ็นเอทั้ง 54 แบบที่เกิดจาก HAT-RAPD primers จำนวน 5 ชนิด สามารถจัดกลุ่ม Spirogyra spp. ได้ 3 กลุ่มซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาของจุดเก็บตัวอย่างแต่ละจุดด้วย ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยัoประสิทธิภาพของเครื่องหมาย HAT-RAPD ในการศึกษานิเวศวิทยาแบบเฉพาะของสาหร่ายเตาในภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น