ค่าความชุกของการติดพยาธิใบไม้ชนิด Haplorchis taichui ในหอยเดียวจากลุ่มแม่น้ำแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเทคนิคทางสัญฐานวิทยาและอณูชีววิทยา

Main Article Content

Thapana Chontananarth
Chalobol Wongsawad

บทคัดย่อ


การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพยาธิใบไม้ในลำไส้ (intestinal trematode) มีรายงานน้อยมากและยังไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ในลำไส้ขนาดเล็ก Haplorchis taichui Witenberg, 1930 ในวงศ์ Heterophyidae เป็นปรสิตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์ การติดเชื้อพยาธิใบไม้ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข และมีรายงานการระบาดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ H. taichui ในหอยฝาเดียวจากลุ่มแม่น้ำแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บหอยฝาเดียวทั้งหมด 1,836 ตัว ระหว่างเดือนเมษายน 2008 ถึง เดือนสิงหาคม 2012 เพื่อตรวจสอบการติดตัวอ่อนพยาธิใบไม้โดยวิธี crushing สำหรับการระบุอัตลักษณ์ของพยาธิใบไม้ชนิด H. taichui จะถูกศึกษาโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาด้วยไพร์เมอร์แบบจำเพาะและถูกเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของยีน mCOI (mitochondrial cytochrome c oxidase subunit I) เพื่อหาลำดับเบสและตรวจสอบด้วยโปรแกรม BLAST จากผลการศึกษาพบเซอร์คาเรียทั้งหมด 6 รูปแบบ คือ megalurous cercaria furcocercous cercaria monostome cercaria pleurolophocercous cercaria parapleurolophocercous cercaria และ virgulate cercaria การตรวจสอบการติดพยาธิ H. taichui ระยะเซอร์คาเรียในหอยโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาพบว่าเซอร์คาเรียรูปแบบ parapleurolophocercous cercaria ให้ผลการทดสอบเป็น positive result โดยสามารถเกิดแถบดีเอ็นเอขนาด 256 bp ที่มีความจำเพาะต่อพยาธิ H. taichui มีค่าความชุกรวมร้อยละ 42.71 ส่วนลำดับเบสของยีน mCOI มีความคล้ายคลึงเท่ากับร้อยละ 99 จาก 29 ไอโซเลทของ H. taichui ในฐานข้อมูลของ Genbank การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเทคนิคทางอณูชีววิทยา สามารถนำมาประยุกต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการวางแผนควบคุมการกระจายตัวของพยาธิใบไม้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


Article Details

บท
บทความวิจัย