องค์ประกอบและการปลดปล่อยธาตุอาหารของเศษหอมแดง มูลแพะ และกระดูกโคเผาป่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีเศษหอมแดง มูลแพะ และกระดูกโคในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จึงศึกษาเพื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้เพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารให้แก่พืช โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเศษหอมแดง มูลแพะ และกระดูกโคเผาป่น โดยนำวัสดุไปวิเคราะห์ธาตุอาหาร และ 2) ศึกษาการปลดปล่อยธาตุอาหาร โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 5 ทรีตเมนต์ คือ บ่มดินอย่างเดียวบ่มดินร่วมกับเศษหอมแดง บ่มดินร่วมกับมูลแพะ บ่มดินร่วมกับกระดูกโคเผาป่น และบ่มดินร่วมกับวัสดุทั้ง 3 ชนิด โดยใช้ดิน 10 กรัม วัสดุอย่างละ 0.5 กรัม ทำซ้ำ 3 ครั้ง พบว่า เศษหอมแดงมีไนโตรเจนและโพแทสเซียมทั้งหมด (K2O) เท่ากับ ร้อยละ 1.28 และ 4.70 ตามลำดับ และสามารถปลดปล่อยไนโตรเจนได้อย่างช้าๆ หลังการบ่ม 15 วัน แต่สามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมได้ทันที มูลแพะมีไนโตรเจนโพแทสเซียม (K2O) และแมกนีเซียมทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 1.94 2.58 และ 0.64 ตามลำดับ โดยสามารถปลดปล่อยไนโตรเจนได้สูงที่สุด และสามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมและแมกนีเซียมได้ทันที ส่วนกระดูกโคเผาปน่ มไี นโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมด (P2O5) เทา่ กับร้อยละ 1.29 และ 34.51 ตามลำดับ โดยเฉพาะฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) คิดเป็นร้อยละ 50 ของฟอสฟอรัสทั้งหมด โดยจะปลดปล่อยออกมาตามช่วงระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น และมีแคลเซียมทั้งหมดร้อยละ 33.69 นอกจากนี้ วัสดุทุกชนิดมีเหล็ก ทองแดงสังกะสี และแมงกานีสเป็นองค์ประกอบ หากนำเศษหอมแดง มูลแพะ และกระดูกโคเผาป่นมาทำปุ๋ยหมักจะสามารถเป็นแหล่งของธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ รวมทั้งอินทรียวัตถุได้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น