การใช้ปุ๋ยและแนวทางการจัดการดินปลูกยางพาราในที่ลุ่มและที่ดอนในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

หทัยกานต์ นวลแก้ว
จักรกฤษณ์ พูนภักดี
จุฑามาศ แก้วมโน
จำเป็น อ่อนทอง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปในพื้นที่ลุ่มซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การศึกษาในครั้งนี้ จึงสำรวจข้อมูลการใช้ปุ๋ย ปัญหาและการจัดการดินปลูกยางพาราในที่ลุ่มและที่ดอนในจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ดินส่วนใหญ่ในแปลงที่ลุ่มมีเนื้อดินละเอียดกว่าที่ดอนและผลผลิตยางพาราในที่ลุ่มต่ำกว่าที่ดอน เกษตรกรส่วนใหญ่ทั้งในแปลงที่ลุ่มและที่ดอนใช้ปุ๋ยเคมี รองลงมา คือ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยในระยะก่อนเปิดกรีดใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ระยะหลังเปิดกรีดใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 และใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในระยะก่อนและหลังเปิดกรีดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ทั้งนี้เกษตรกรในที่ดอนใช้ปุ๋ยตามหลักวิชาการมากกว่าในที่ลุ่มซึ่งมักใช้ตามคำแนะนำของเพื่อนบ้าน ส่วนสาเหตุหลักที่เกษตรกรหันไปปลูกยางพาราในที่ลุ่ม เนื่องจากการปลูกข้าวไม่ได้ผลและยางพารามีราคาสูงขึ้น ปัญหาที่พบเมื่อปลูกยางพาราในที่ลุ่ม คือ น้ำท่วมขัง โรคราแป้ง และอาการหน้ายางแห้ง แนวทางการแก้ไขคือ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ก่อนปลูกยางพารา โดยแปลงที่ลุ่มซึ่งใช้ปลูกยางพาราไม่ควรมีน้ำท่วมขังเกิน 7 วัน และต้องขุดคูรอบแปลงหรือไถยกร่อง แต่ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการปลูกยางพาราในที่ลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย