การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ภัคจิรา ไกรไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการศึกษาบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 33 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบจำลองการวิเคราะห์สมการแสดงความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROA มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ซีเอสล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็มเอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROE มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ซีเอสล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็มเอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร NPM มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ซีเอสล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็มเอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อัตราส่วนความสามารถในการกำไร OIM มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ซีเอสล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็มเอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROA, ROE, NPM และ OIM มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Efficient Market Hypothesis. (2008). [online]. Retrieved March 17, 2017,
from: https://salamanderr.wordpress.com/2008/12/16/ทฤษฎีประสิทธิภาพตลาด/. (in Thai)

2. Hirunrusme, T., Kietkulwattana, P. & Manowan, P. (2015). Financial Accounting. Bangkok: June Publishing. (in Thai)

3. Jaiboon, A. (2012). Analysis of Factors Affecting the Rate of Return of Securities in Information Communications Technology (ICT) the Stock Exchange of Thailand Using ARDL Method. Master’s thesis. Chiangmai University. (in Thai)

4. Kasikorn Asset Management. (2015). The Establishment of K-ICT Fund in response to Digital Economy, aimed to raise Investment in Stock Index of ICT Business [online]. Retrieved May 8, 2016,
from: http://www.kasikornasset.com/TH/FundsOfTheMonth/Pages/21052015.aspx. (in Thai)

5. Pakprod, N. & Jeerungsuwan, N. (2014). The Comparison of Information, Media, ICT Skills in a Current Situation with Expectation Based on 21st Century Skill. Journal of Yala University, 9(2), 35-45. (in Thai)