การเลี้ยงแพะในระบบการทำฟาร์มและวิถีชีวิตของชาวมุสลิมภาคใต้ : กรณีศึกษาในตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

Main Article Content

สมยศ ทุ่งหว้า
ปัทมา หมาดทิ้ง
ปองพชร ธาราสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงแพะให้สอดคล้องกับลักษณะภูมินิเวศและเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางการเกษตร เพื่อจำแนกประเภทของทำฟาร์มและผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของระบบการทำฟาร์มที่มีการเลี้ยงแพะ และเพื่อศึกษาบทบาทของการเลี้ยงแพะในวิถีชีวิตของประชากรในตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างครัวเรือนเกษตรที่อาศัยอยู่ในเขตนิเวศเกษตรต่างๆ จำนวน 245 ครัวเรือน และสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับระบบการทำฟาร์มของครัวเรือนที่มีการเลี้ยงแพะและมีระบบการผลิตทางการเกษตรที่แตกต่างกัน จำนวน 12 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่าผู้เลี้ยงแพะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกันไปในฟาร์ม สามารถจำแนกประเภทฟาร์มที่มีการเลี้ยงแพะควบคู่กับการเกษตรอื่นออกเป็น 6 ประเภท ตามความแตกต่างของลักษณะโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรและผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการทำฟาร์ม           ผู้เลี้ยงแพะส่วนใหญ่มีการเลี้ยงเพื่อเป็นกิจกรรมเสริม การใช้ประโยชน์จากแพะส่วนใหญ่เป็นไปทั้งเพื่อพิธีกรรมทางศาสนาและไม่ใช่พิธีกรรมทางศาสนา เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแพะเพื่อเป็นแหล่งเงินออมและมีการขายแพะเมื่อมีความจำเป็นทางการเงิน อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าฟาร์มบางประเภทสามารถเลี้ยงแพะโดยมีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้หากมีการจัดการให้เหมาะสมกับบริบทของฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการด้านพืชอาหารแพะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Department of Agricultural Extension. Information Technology and Communication Center. (2016).
Farmer’s Data Base at 29 February 2016. Bangkok: Department of Agricultural Extension.
(in Thai)

2. Department of Livestock Development. (2015). Data of Farmers who Raise Goat and Sheep by
Livestock Region in 2015 Fiscal Year [Online]. Retrieved July 2, 2015, from: http://ict.dld.go.th/th2/images/stories/stat_web/yearly/2558/province/7.goatsheep_province.pdf. (in Thai)

3. Kaokohhong Conservation Joint Project and Social Science for Environmental Research Unit, Prince
of Songkla University. (2012). Knowledge Management on Rubber Agroforestry Management for Sustainability of Communities and Environment in Southern Thailand. Bangkok: Sustainable Power Foundation. (in Thai)

4. Norton, G. W., Alwang, J. & Masters, W. A. (2012). Introduction to Economics of Agricultural
Development. (2nd ed.). New York: Routledge.

5. Semae, S. (2007). The Success Way of Goat Raising by Muslim Way. Journal of Yala Rajabhat
Unversity, 2(1), 72-81. (in Thai)

6. Satun Province Livestock Office. (2011). Thai Khem Kang Project. Satun: Satun Province Livestock Office.
(in Thai)

7. Somchun, C. (2014). Raise Goat…in the Plantation a Survival...Rubber Price Fall [Online]. Retrieved June, 25, 2015, from: http://www.thairath.co.th/content/418621. (in Thai)

8. Thungwa, S. (2008). Turning to the first agricultural revolution of the agrarian societies in the land reform
area, Southern Thailand. Proceeding of an international conference on land reform
for wealthy life. Chiangrai Province. Thailand May 12-16, 2008. Bangkok: Agricultural Land Reform Office. Ministry of Agriculture and Cooperative, Royal Thai Government.

9. Thungwa, S. (2014). The Economic Return and Social Security of Smallholder Farming Systems that Grow
Associate Crops in Rubber Plots in Southern Thailand. Songkhla: Department of Agricultural Development, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University. (in Thai)