รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

Main Article Content

ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 รวมทั้งสิ้น 558 คน ผู้วิจัยยกร่างและนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน และประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ โดยเลือกแบบเจาะจงผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ งานบริหารทั่วไป งานบุคลากร และงานงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการสร้างรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมีการปรับปรุงให้เกิดกระบวนการ PDCA จัดลำดับการปฏิบัติอย่างชัดเจนในแต่ละขั้นตอน โดยมีการวางแผนการจัดแหล่งเรียนรู้ร่วมกับทุกฝ่าย จัดทำโครงการและกิจกรรมที่ใช้แหล่งเรียนรู้ กำหนดปฏิทินการติดตามผลการบริหารจัดการ นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข และเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ ผลการการประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ไปใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Aekkul, T. (2007). Research methodology in behavioral sciences and social sciences. (5th ed.).Bangkok: Wittaya Offset Printing. (in Thai).

2. Chuaysaeng, B. (2010). The Development of Participatory Learning Resources in Ban Nong –Or Noi School, Nong-wua-saw District, Udon Thani Province. Master’s Thesis. Udon Thani Rajabhat University. (in Thai).

3. Hongkham, S. (2011). The learning resource management model of Summasikkha Srisa Asoke school
Kantaraluk Srisaket province. Master’s Thesis. Ubon Ratchathani Rajabhat Univresity. (in Thai).

4. Kaeokoet, K. & Gesthong, T. (2014). Guidelines for Learning Resources Utilization of Secondary Schools in Kamphaengphet Province under the Office of Secondary Educational Service Area 41. Master’s Thesis. Nokhonsawan Rajabhat University. (in Thai).

5. Kerdsap, Y. (2011). Factors Affecting High Learning Achievement on Science under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1. Master’s Thesis. Phra Nakhon Si Ayuttahaya: Phra Nakhon Si Ayuttahaya University. (in Thai)

6. Ministry of Education. (2016). The Policies of Education Minister. Bangkok: Office of Policies and Strategies
under Office of the Permanent Secretary Ministry of Education. Ministry of Education. (in Thai).

7. Office of Education Reform Office. (2002). The Indicator Development to Evaluating the Quality of
Education Service Area Administration. Bangkok: Than Aksorn. (in Thai).

8. Phetkamthong, S. (2013). Strategic Development for Learning Resource Management of Schools under
Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1 and 2. Doctor of Philosophy’s
Thesis. Kamphaengphet Rajabhat University. (in Thai).

9. Pholphong, L. (2016). The Multi-Level Factors Affecting the Effectiveness of Schools under the Office of the Basic Education Commission Using English as the Medium of Instruction. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 114-114. (in Thai).

10. Ritthong, T. (2002). Thirty Models of Activity Arrangement Holding Learners as a Center. (3rded.). Bangkok: Fueangfa Printing Limited Company Press. (in Thai).
Rueangdee, P. (2015). A Study of the Ways of Learning Resource Management at the Schools under

11. Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 5. Master’s Thesis.Nakhonratchasima Rajabhat University. (in Thai).

12. Satra, P. & Jasuwan, S. (2014). Management Learning Resources in Schools Under The Bangkok Metropolitan Minburi. Research and Development Journal Suan Sunantha Rajabhat University, 6, 4-15. (in Thai).

13. Srisa-ard, B. (2011). Preliminary Research. (9th ed.). Bangkok: Suviriyasarn. (in Thai).

14. Secretariat of the House of Representatives. (2007). Constitution of The Kingdom of Thailand B.E. 2007. Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives. (in Thai).

15. Tungkunanan, P. (2013). Classroom and Learning Resource Management. Bangkok: Meen Service Supplies. (in Thai).