โนราและหนังตะลุง : การพัฒนาการจัดการและการถ่ายทอดของศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

กฤติยา ชูสงค์
กล้า สมตระกูล
ปรารภ แก้วเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการ การถ่ายทอดและแนวทางในการพัฒนาการจัดการและการถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนราและหนังตะลุงของศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากหัวหน้าและคณะกรรมการศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้าน การสังเกตแบบมีไม่มีส่วนร่วม  และการประชุมเชิงปฏิบัติการถึงสภาพปัญหาการจัดการและแนวทางในการพัฒนาของศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 32 คน ได้แก่ ศิลปินโนราและหนังตะลุง หัวหน้าและคณะกรรมการศูนย์ฝึกพื้นบ้าน นักวิชาการ ผู้บริหารและผู้นำชุมชน ผลวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้านที่ยังคงดำเนินการในพื้นที่วิจัยมีเพียง 2 ศูนย์ คือ ศูนย์ฝึกโนราและศูนย์ฝึกหนังตะลุงลำดวน ศ.อิ่มเท่ง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปัญหาของศูนย์ฝึกคือ หน่วยงานและคนในชุมชนไม่ให้ความสนใจและสนับสนุนศิลปะการแสดงพื้นบ้านในท้องถิ่นอย่างจริงจัง และผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการถึงแนวทางในการพัฒนาการจัดการของศูนย์ฝึกคือ หัวหน้าของศูนย์ฝึกจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงาน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านทั้งด้านทรัพยากรและงบประมาณ ด้านการถ่ายทอดควรจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นอยู่ในการเรียนการสอนของสถานศึกษา และศิลปินพื้นบ้านควรถ่ายทอดความรู้โดยยึดขนบธรรมเนียมนิยมการแสดงแบบดั้งเดิมเพื่อให้คุณค่าทางภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่สืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Aupatumnarakorn, B. (2009). Nora: the Preservation Development and Inheritance of the Southern Thailand Performing Arts. Ph.D. Cultural Science. Mahasarakham University. (in Thai)

2. Changsan, T. (2013). Guidelines for Conserving and Developing Likae Paa in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 8(1), 84-87. (in Thai)

3. Kammanee, T. (2005). Teaching science. (4th ). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

4. Keawthep, K. (1991). The Communist Existence, Procedure of resist and development. Bangkok: Catholic Bishops Conference of Thailand. (in Thai)

5. Office of Arts and Cultural Songkhla Rajabhat University. (2005). Project “Establishingcooperative community networking to promote Nora and Shadow Puppets performances in the Songkhla Basin”. Songkhla: Songkhla Rajabhat University. (in Thai)

6. Saihoo, P. (1987). “The Direction to Support and Publicize Local Culture,” To Promote and Publicize Local Thai Culture. Bangkok: Printing Guru Council. (in Thai)

7. Yhoothong, J. (2014). “Nhang Tha-Lung (The Shadow Puppetery) of the South of Thailand : Root and Cruible “Self of Thai Southerner”. Walailak Abode of Culture Journal, 14(2), 29. (in Thai)

8. Yhoothong, J. (2016). The adaptation of Nhang Tha-Lung play in a Changing situation. Rusamilae Journal, 37(3), 1.

บุคลานุกรม
1. ควน ทวนยก (ผู้ให้สัมภาษณ์).กฤติยา ชูสงค์ (ผู้สัมภาษณ์). สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559.
2. ประเสริฐ รักษ์วงศ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์).กฤติยา ชูสงค์ (ผู้สัมภาษณ์). บ้านเลขที่ 2 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558.
3. รจนา ศรีใส (ผู้ให้สัมภาษณ์).กฤติยา ชูสงค์ (ผู้สัมภาษณ์). สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558.