การใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และลดความวิตกกังวลในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน และเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการสอนโดยใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ที่เรียนชุมนุมคลินิกภาษา ในปลายภาคเรียนที่ 1 ถึง ต้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนเขียนภาษาอังกฤษที่ใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเขียนของเพื่อน 5 แผน จำนวน 20 คาบ และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความวิตกกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการการสอนโดยใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อนมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อนมีความวิตกกังวลลดน้อยลงจากก่อนได้รับการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Daly, J. A. & Miller, M. D. (1975). The empirical development of an instrument to measure writing apprehension. Massachusetts: Newbury House.
3. Jacobs, H.L., Zingraf, S.A. Wormuth, D.R., Hartfiel, V.F. & Hughey, J.B. (1981). Testing ESL composition: a practical approach. Massachusetts: Newbury House.
4. Khumkaew, Y. (2004). Developing Writing Ability through Making Notes Activity. Master thesis. Kasetsart University. (in Thai)
5. Klabdee, S. (2013). English Proficiency of Thai is Getting Better. Population & Social Issues on Mental Health, 3(2), 4-5. (in Thai)
6. Krashen, S.D. (1984). Writing research, theory, and applications. Trowbridge: Redwood Burn, Ltd.
7. Lightbrown, P. & Spada, N. (1993). How Languages Are Learned. Oxford: Oxford University Press.
8. Muncie, J. (2000). ELT Journal: Using written teacher feedback in EFL composition classes. Oxford: Oxford University Press.
9. Nilson, L. (2003). Improving Student Peer Feedback. College Teaching, 51(1), 34-38.
10. Piaget, J. (1954). The Construction of Reality in the Child. New York: Basic Books, Inc.
11. Roonghirun, M. (2007). The Use of Process Writing to Enhance Writing Ability of the Students at Rangsit University. Master thesis. Srinakharinwirot University. (in Thai)
12. Saengklaijaroen, W. (2012). The Ability of Writing Guided and Free Compositions through the Use of Explicit and Implicit-Cues-Responding Techniques. Journal of Yala Rajabhat University, 7(1), 70. (in Thai)
13. Susser, B. (1994). Process approaches in ESL/EFL writing instruction. Journal of Second Language Writing, 3(1), 31-47.
14. White, R. & Arndt, V. (1991). Process Writing. Essex: Addison Wesley Longman Ltd.