แนวทางการพัฒนาการกำกับดูแลชะรีอะฮ์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

Main Article Content

Ismaae Sani
Maroning Salaeming

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านการกำกับดูแลชะรีอะฮ์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 ท่าน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทบทวนและพัฒนาปรับปรุงแก้ไขในส่วนต่าง ๆ ที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคส่งผลกระทบต่อความสามารถและความคล่องตัวในการกำกับดูแลองค์การและการบริหารกิจการให้เป็นไปตามหลักการและกฎเกณฑ์ของศาสนาอิสลามให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนแนวทางการพัฒนารายด้าน พบว่า ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้ระบบโครงสร้างและรูปแบบของหน่วยงานชะรีอะฮ์มีความเหมาะสมและเข้มข้นตามมาตรฐานสากล ควรพัฒนาด้านนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายให้มีความชัดเจนและรัดกุมรองรับหน้าที่การปฏิบัติงานของหน่วยงานชะรีอะฮ์ภายในและภายนอกอย่างเพียงพอ ควรพัฒนาด้านกระบวนการและเทคนิคการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแนะนำและการพิจารณาวินิจฉัยประเด็นปัญหาด้านศาสนารวมถึงด้านการตรวจสอบชะรีอะฮ์ให้มีความชัดเจนและโดดเด่นที่สามารถคลายความระแวงได้อย่างสมเหตุสมผล และควรพัฒนาด้านการสนับสนุนจากภาครัฐให้มีความเพียงพอและเป็นรูปธรรมจนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่น่าเชื่อถืออย่างกว้างขวางต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions. (2007). Standards-setting for Islamic Financial Institution [Online]. Retrieved September 27, 2007, from: http://shariyah.com/ar/project. (in Arabic)

2. Ahmin, M. (2015). Introduction to Shari'ah Supervision. (1). Brirut: Dar.Ibn Hazmi. (in Arabic)

3. Al-Shoki, S. A. (2012). The supervision of the public property. (1). Jordan: Dar. Al-Nafaes. (in Arabic)

4. Aphakon, P. M. L., Chaimomgkhol, S., Kusulwitikul, P. & Rochanasakul, P. (2013). Guidelines for the development of Supervision of Financial Institutions Providing Islamic Financial Services. Research Report. Centre for Muslim World Policies, Faculty of Economics, Chulalongkorn University. (in Thai)

5. Boonchom, K. (2014). The impact of rules and regulations to the Operation Performance of the Islamic Bank of Thailand. Master’s Thesis of Business Administration. Dhurakij Pandit University. (in Thai)

6. Boonchom, K. (2015). Comparing the Performance Standards of Islamic Financial Institutions of Thailand and Malaysia. SUTIPPARITHAT Dhurakij Pundit University, 29(92), 52-64. (in Thai)

7. Islamic Bank of Thailand. (2016). Annual report 2016 [Online]. Retrieved October 14 2016, from: http://www.ibank.co.th.

8. Nurah. (2014). Ingredients of Shari’ah Supervision in Islamic Banks [Online]. Retrieved October 09, 2015, from: http://fiqh.islammessage.com. (in Arabic)

9. Phetthongkam, P. (2007). The role of religious advisory board (Shariah) case study of Islamic Bank of Thailand. Master’s Thesis. Thammasat University. (in Thai)

10. Rochananond, C., Attaworadej, A., klantakaphan, N. & Tiantitikl, R. (2010). The study of legal improvement for Islamic Banking Development in Thailand. Research Report. The Thailand Research Fund. (in Thai)

11. Sani, I., Salaeming, M. (in press). Conditions and problems of Shari’ah Supervision in Islamic Bank of Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), (in Thai)

12. Thipwaree, P., Atisabda, W., Churngchow, C., Plungsuwan, S. (2016). The development model of innovative leadership for Institute of Physical Education Administrators. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 57-80. (in Thai)

บุคลานุกรม
1. ชัชวาล นิยมวิทยานนท์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ 66 อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานครฯ 10110. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560.

2. สะรี หัวเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์). ที่สำนักงานเขตนราธิวาส ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขานราธิวาส 52/18-19 ถนนสุริยะประดิษฐ์(ตรงข้ามสถานีตำรวจ) อำเภอเมือง นราธิวาส 96000. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560

3. อานิส พัฒนปรีชาวงศ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์). ที่สถาบันอิสลามและภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนราธวาสราชนครินทร์ 99 หมู่ 8, ตำบล โคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560.

4. อรุณ บุญชม (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์). ที่โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์ (บ้านดอน) ซอย พร้อมพรรค ซอย สุขุมวิท 55 แขวง คลองตันเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560.

5. อุสมาน บัณฑูลอัมพา (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์). ที่สำนักงานเขตปัตตานี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขาปัตตานี 20-4 ถนนนาเกลือ ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี 94000. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560.

6. อิสมาแอ อาลี (ผู้ให้สัมภาษณ์). อิสมาแอ สนิ (ผู้สัมภาษณ์).ที่บ้าน รศ.ดร. อิสมาแอ อาลี เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560.