ผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวะนิยมร่วมกับหลักการอิสลามเพื่อเสริมสร้าง กลวิธีในการเผชิญปัญหาของแม่วัยใสมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นช่วงที่เพศหญิงยังไม่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ขาดวุฒิภาวะในการเป็นแม่ หากไม่สามารถเผชิญและจัดการกับปัญหาวิกฤตชีวิตได้ จะส่งผลให้ขาดความสุข มีชีวิตและสังคมที่เครียด จึงทำการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวะนิยมร่วมกับหลักการอิสลามเพื่อเสริมสร้างกลวิธีในการเผชิญปัญหาของแม่วัยใสมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและสมัครใจ ซึ่งเป็นแม่วัยใสมุสลิมอายุระหว่าง 15–19 ปี ที่กำลังตั้งครรภ์และเพิ่งมีบุตร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวะนิยมร่วมกับหลักการอิสลาม จำนวน 11 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการเผชิญปัญหา และโปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวะนิยมร่วมกับหลักการอิสลาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ สถิติ Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองแม่วัยใสมุสลิมกลุ่มทดลองมีคะแนนกลวิธีในการเผชิญปัญหาสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนกลวิธีในการเผชิญปัญหารายบุคคลสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวะนิยมร่วมกับหลักการอิสลามสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาดูแลแม่วัยใสมุสลิมให้มีกลวิธีในการเผชิญปัญหาที่ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Al-Qasem, A. (2013). The concept of solving problems in the Islamic way. Al Qasim Publishing. (in Thai)
Buntanon, N. & Nararak, P. (2012). Stop!!! Teen pregnancy is difficult to help each other. Friend's Health Health Center 5, 6(2), 1-8. (in Thai)
Chongruksa, D. (2011). Theories of counseling and psychology. (4nd ed). Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan). (in Thai)
Corey, G. (2001). Theory and practice of Counseling and psychotherapy, Wadsworth. New York: Brook/Cole.
Frydenberg, E. & Lewis, R. (1993). Adolescent Coping Scale Administrator’s Manual. The Australian Council for Educational Research.
Gazda, G. M. (1989). Group counseling: A Development Approach. (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Khammanee, N. & Supwirapakorn, W. (2017). A Development of Integrative Multi-Theoretical Group Counseling: Existential and Reality Therapy to Enhancing The Reasons for Living of Female Inmates. Academic. Journal for the Humanities and Social Sciences, 25(48), 59-77. (in Thai)
Lazarus, R.S. & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal and coping. New York: Springer Publishing.
Madadi, Z. S., Golparvar M. & Aghaie, A. (2018). Effect of Positive Existential Therapy and Positive Iranian-Islamic Therapy on Depression and Anxiety of Female Students with Social Anxiety. Islamic Life Journal, 2(3), 113-121.
Marzieh Feizi et al. (2019). The effectiveness of existential psychotherapy on attitude to life and self- flourishing of educated women homemakers. Journal of Education and Health Promotion, 8(1), 237.
Phongsopa, P. (2013). Theories and techniques of counseling. Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Phukaew, M. (2016). Act for Prevention and Solution of the Adolescent Pregnancy Problem, B.E.2016 [online]. Retrieved March 20, 2018, from: https://www.parliament.go.th › ewtadmin › ewt › elaw_parcy › ewt_dl_link. (in Thai)
Punjuy, R. (2012). The effect of group counseling on coping ability in caregivers of schizophrenic patients in community. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
Senate Committee on Public Health. (2011). Adolescent Pregnancy Problems. Study Report on Adolescent Pregnancy Problems, 20 January 2011. Bangkok: The Secretariat of the Senate. (in Thai)
Smuseneto, A. (2016). Thai Muslims Family in pattani during demographic transitions stages. Journal of Humanities and Social Sciences, 12(1), 78-121. (in Thai)
Suanphiroth, S. (2013). Theory and techniques of counseling in psychology. Pattani: Department of Psychology and Guidance, Faculty of Education, Prince of Songkla University. (in Thai)
Suanphiroth, S. (2013). Understandings Access and Development: Principles of Islam for Healing Heart when it is crisis. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 24, 29-41. (in Thai)
Tantiwet, S., et al. (2013). Adolescent Pregnancy Thailand 2013. Nonthaburi: Health Technology and Policy Assessment Project. (in Thai)
Wearlee, D. (2005). Healing the mind with Islam. Bangkok: Thai Islamic Medical Association, O.S. Printing. (in Thai)