การพัฒนาแนวทางการสอนคติชนวิทยาด้วยการบูรณาการสร้างสรรค์การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับ การใช้เรื่องเล่าทางคติชนเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ชลธิชา หอมฟุ้ง

บทคัดย่อ

คติชนวิทยาช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มชน แต่ผู้เรียนยังเข้าใจมโนทัศน์ของคติชนวิทยาคลาดเคลื่อน จึงวิจัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาแนวทางการสอนคติชนวิทยา ฯ 2) พัฒนาแนวทางการสอนคติชนวิทยา ฯ 3) ศึกษาผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4) ขยายผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองคือ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ขยายผลคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2563 เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดความสามารถ แบบสะท้อนความคิดเห็น แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานพบปัญหาการเรียนวิชาคติชนวิทยาด้านสื่อ ด้านการนำเสนอชิ้นงานการเก็บข้อมูลสนาม และด้านความเข้าใจเนื้อหา 2) ได้แนวทางการสอนคติชนวิทยา ฯ  6 ขั้น 1) สร้างแรงจูงใจ 2) เสริมใส่ประสบการณ์ผ่านเรื่องเล่า 3) เร้าพลังอภิปราย 3.1) สรุปบรรยายมโนทัศน์ 3.2) คัดเรื่องเขียนเล่า 4) เข้าสู่นำเสนองาน 5) วิจารณ์สร้างสรรค์ 6) แบ่งปันสะท้อนความคิด และได้เรื่องเล่า 5 เล่ม ที่เก็บข้อมูลจากจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทยและอินเดีย 3) ผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการสะท้อนความคิดพบประโยชน์ของการเรียนด้วยแนวทางการสอนคติชนวิทยา ฯ คือ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ได้แนวทางการสอน ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว เห็นคุณค่าของข้อมูลทางคติชน และ 4) การขยายผลด้านความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อเรื่องเล่าพบภาพรวมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuntasarn, S. (2000). Contemporary folklore theories. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Bouttell, L. (2018). Creative Integration: A case study of cultural learning from Estonia [Online]. Retrieved April 2, 2020, from: https://epale.ec.europa.eu/sites/default/files/case_study_of_creative_integration.pdf.

Degh, L. (1972). Folk Narrative. In Dorson, R. M. (Ed.). Folklore and folklife. Chicago: The University of Chicago Press.

Lindahl, C. (1979). A Basic Guide to Fieldwork for Beginning Folklore Students. Folklore Monograph Series, 7, 60-69.

Michael and Modell. (2003). Active learning in secondary and college science classrooms: A working model for helping the learner to learn. Mahwah: Lawrence Associates, Inc.

Na Thalang, S. (2009). The folklore theory: methodology to analyze legend and the folktale. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Oring, E. (1986). Folk Groups and Folklore Genres. USA: Utah State University Press.

Wongyai, W. & Patphol, M. (2019). Creative Integration.Bangkok: Innovation Leaders Center in Curriculum and Learning, the Graduate School of Srinakharinwirot University. (in Thai)

Wongyai, W. & Patphol, M. (2019). Active Deep Learning. Bangkok: Innovation Leaders Center in Curriculum and Learning, the Graduate School of Srinakharinwirot University. (in Thai)