การพัฒนาศักยภาพเมืองไมซ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่การเป็นเมืองไมซ์ของประเทศไทย

Main Article Content

วิชชุตา มาชู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิตามหลักเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ (2) วิเคราะห์ศักยภาพการเป็นเมืองไมซ์ และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเป็นเมืองไมซ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิเก็บรวบรวมจากเอกสารของหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งสิ้น 65 คน จากกลุ่มผู้ให้บริการและผู้สนับสนุน จำนวน 51 คน และ ผู้ใช้บริการไมซ์ จำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีศักยภาพในการเป็นเมืองไมซ์ในทุกด้านได้แก่ การเดินทางเข้าสู่เมือง การสนับสนุนการจัดงานไมซ์ของเมือง กิจกรรมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการประชุม ที่พัก สถานที่จัดงาน ภาพลักษณ์ สภาพแวดล้อม และความปลอดภัย จุดแข็งที่สำคัญคือ การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในเขตภาคใต้ตอนบน รวมทั้งการมีฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นเมืองไมซ์ จุดอ่อนของจังหวัด คือระบบการคมนาคมภายในเมืองที่ยังไม่หลากหลาย รวมทั้งคุณภาพของบุคลากรและผู้ให้บริการไมซ์ โอกาสที่สำคัญคือการสนับสนุนในเชิงนโยบายจากภาครัฐทั้งจากส่วนกลางและในท้องถิ่น ในขณะที่อุปสรรคต่อการพัฒนาคือ สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 และงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐที่มีความจำกัด สุดท้ายในส่วนของแนวทางการพัฒนา ควรมีแผนการพัฒนาระยะสั้น-กลาง คือ การพัฒนาคุณภาพผู้ให้บริการไมซ์การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การตลาดและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไมซ์ ส่วนแผนงานระยะยาวคือ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chuaysuk, D. & Kovattanakul, D. (2015). Khonkaen mice industry development towards leading mice city of Thailand. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 10(1), 15-29. (in Thai).

Jantawanit, S. (2011). Data analysis in qualitative research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kansamut, N., Jaroenwisan, K., & Phuripakdee, S. (2020). Human resource development to enhance competitiveness of the mice industry in Songkhla. RMUTSV Research Journal, 12(1), 120-132. (in Thai).

Pharitpongsakorn, K., Khoku, K., Samphearod, T., & Thothang, P. (2020). Guidelines for mice city development with swot analysis. Journal of MCU Nakhondhat, 17(12), 406-420.

Sethasathien, W. (2017). Potential and readiness of Chiang Mai for mice business. Journal of Graduate Research, 8(1), 200-215. (in Thai).

Tippeng, S., Wongmonta, S., Techakana, J., & Na Talang, C. (2019). A development of mice Industry potentially in Songkhla province, Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), 229-310. (in Thai).

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2020). MICE city assessment criteria. Bangkok: TCEB.

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2019). A report of mice statistics in Thailand for the fiscal year of 2019 [Online]. Retrieved August 15, 2020, from: https://www.thaitradeshow.com/getattachment/News-Activities/All/5045/รายงาน-INTER-MICE- ปีงบประมาณ-2562.pdf.aspx. (in Thai).

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2018). MICE does not mean mice. Bangkok: TCEB.