แบบจำลองการวิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อการเข้าชมสกายวอล์คอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

Main Article Content

ชาคร ประพรหม
เจษฎา ไหลภาภรณ์

บทคัดย่อ

ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคเป็นข้อมูลที่สำคัญในการกำหนดราคาของสินค้าและบริการที่เหมาะสม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย และวิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อการเข้าชมสกายวอล์คอัยเยอร์เวง ด้วยเทคนิคสมมติเหตุการณ์ (Contingent Valuation Method: CVM) การศึกษานี้อาศัยข้อมูลจากแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และแบบจำลองโลจิตในการวิเคราะห์ความเต็มใจจ่าย ผลการศึกษาพบว่า ราคาเสนอ อายุ ศาสนา อาชีพ เคยมาท่องเที่ยวที่เบตงแล้ว ระยะเวลาการท่องเที่ยว และการรับข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านทาง Facebook เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดความเต็มใจจ่าย โดยที่ความเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีมูลค่าเท่ากับ 66.80 บาทต่อคนต่อครั้ง อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 31-40 ปี นักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป นักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น ๆ นอกเหนือจากศาสนาอิสลาม และนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจาก Facebook มีความเต็มใจจ่ายสูงกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่ม นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว นักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาเบตงแล้ว และนักท่องเที่ยวที่มีระยะเวลาในการท่องเที่ยวในเบตงมากกว่า 6 วัน กลับมีความเต็มใจจ่ายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ด้วยเหตุนี้ค่าธรรมเนียมการเข้าชมสกายวอล์คสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยจึงควรถูกกำหนดให้สอดคล้องกับความเต็มใจจ่ายของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้สกายวอล์คอัยเยอร์เวงสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 2563 ได้มากถึง 15,228,730 บาท อีกทั้งการศึกษานี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว เพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantarawat N. (2013). Willingness to pay of visitors for SCUBA diving at Mu Koh Larn, Chon Buri Province. Master of Science (Resource Management). Kasetsart University. (in Thai)

Cochran, W. G. (1953) Sampling techniques. Bombay: Asia Publishing House.

Jadjaeng, N. (2014). The willingness to Pay for Liveaboard Diving. Master of Economics (Business Economics). Thammasart University. (in Thai)

Pattamarungson, C. (2016). Visitors' willingness to pay for entrance fee of the Royal Park Rajapruek, Chiang Mai Province. Master of Science (Agribusiness). Chiang Mai University. (in Thai)

Pasunon, P. (2015). Validity of questionare for social science research. Journal of Social Science Srinakharinwirot University,18(2558), 375-396. (in Thai)

Piriyapada, S. & Seenprachawong, U. (2018). Tourists’ willingness to pay for low-carbon destination management: A case studyof KoLan, Chonburi Province. Development Economic Review, 12(2), 80-102.

Ministry of Tourism and Sport. (2021). Thailand tourism situation. Tourism Economic Review. 1(3), 15-29. (in Thai)

Ministry of Tourism and Sport. (2020). Tourism statistics 2019. [online]. Retrieved February 11, 2021, from: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521

Royal Thai Government. (2018), “National strategy 2018-2037”. Royal Thai Government Gazette, Vol.135 Part 82a, 1-71. (in Thai)

Sukchitpinyo, K. & Chokethaworn, K. (2012). Willingness to pay for conservation of Wiang Kum Kam Cultural Heritage. WMS Journal of Management Walailak University, 1(1), 1-9. (in Thai)

Thairathonline. (2020). Traveling destination in Betong, Yala Province, Don’t miss to check in “Ai Yeowang Skywalk” [Online]. Retrieved February 11, 2021, from: https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/thaitravel/1943335