ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

ลินนภัสร์ วุฒิกนกกัญจน์

บทคัดย่อ

การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชีในประเทศไทย ยังคงมีปัญหาทางด้านคุณภาพงานสอบบัญชีและความเป็นมืออาชีพเฉพาะทางของผู้ตรวจสอบบัญชี จึงนำมาสู่การวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงาน ศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณจำนวน 359 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ระดับการรับรู้ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย independent t-test, One Way ANOVA และ Paired-Sample t-test เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และหาความสัมพันธ์ด้วย Chi-Square สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความเชิงเนื้อหา และจำแนกเป็นรายด้าน ข้อค้นพบที่ได้คือ 1) ภาพรวมการรับรู้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการทดสอบรายการบัญชีและภาษีอากรอยู่ในระดับปานกลางสูงที่สุด 2) อายุ ระดับการศึกษา และเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ปัญหาด้านการจัดทำแนวทางการสอบบัญชี การทดสอบรายการบัญชีและภาษีอากร การตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางบัญชี และการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี 3) ระดับการศึกษาปริญญาเอก มีผลต่อการรับรู้ปัญหาด้านการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีแตกต่างน้อยกว่าระดับปริญญาตรีและโท ส่วนชั่วโมงในการอบรมมีผลต่อการรับรู้ปัญหาในการปฏิบัติงานทั้ง 6 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) พบปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน คือ (1) การสื่อสาร (2) ความไม่สมบูรณ์ของเอกสารในตรวจสอบ (3) ความล่าช้า (4) ค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบต่ำกว่าความรับผิดชอบที่ต้องรับ และ (5) เอกสารที่เจ้าของกิจการจัดส่งมีจำนวนมาก ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร ควรปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนางานสอบบัญชีเป็นไปตามมาตรฐานระบบร่วมกับทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดความคล่องตัวอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aaker, D. A., Kumar, V., Day, G. S., & Leone, R. P. (2011). Marketing research (10th ed.). Asia: John Wiley and Sons (Asia).

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals-Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology and education. New York: Mc-Graw Hill.

Department of Business Development. (2017). Accounting act., B. E. 2543. Retrieved July 2019, from https://www.dbd.go.th/download/article/article_20170616160043.pdf (in Thai)

Federation of Accounting Professions Under The Royal Patronage of His Majesty The King. (2018). Certified public accountant’s license status verification system. Retrieved December 21, 2018, from https://eservice.tfac.or.th/check_cpa/ (in Thai)

Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of behavioral research (3rd ed.). Fort Worth, TX: Holt, Rinehart and Winston.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Leon, A. & Cambridge, P. S. (2006). Marketing research (2nd ed.). New York: John Wildy and Sons.

Nontapa, P. & Srijunpetch, S. (2014). Problems and impacts of the implementation of international standards on quality control on small and medium practices. Journal of Business Administration, The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(1), 1-11. (in Thai)

Pakdeelon, T. (2015). Certified public accountants’ opinions on inherent risk and control risk in audit practices of listed companies. Thesis, Master of Business Administration Program in Accounting, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology. (in Thai)

Phatamontri, U. (2015). Modern internal auditing. Bangkok: Chamchuri Product. (in Thai)

Phorncharoen, P. (2020). Conducting the accounts of the food processing community enterprises in phetchabun province. Phetchabun Rajabhat Journal, 22(2), 9-18. (in Thai)

Sanguanwongwan, W. (2016). Management and organizational behavior. Bangkok: Tops. (in Thai)

Serirat, S. (2007). Consumer behavior. Bangkok: Thira film and Site text. (in Thai)

Siewkornburee, N., Prempanichnukul, V., & Laonamtha, U. (2019). Effects of fraud detection techniques on audit quality of certified public accountants in thailand. Journal of accountancy and management, 11(4), 20-30. (in Thai)

Suksawat, P. (2013). The model development on communication competency of leaders in small and medium enterprises of contraction service business. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Management for Development, Rajabhat Rajanagarindra University. (in Thai)

The Revenue Department. (2014). Accounting audit and certification practice. Retrieved July 13, 2019, from https://www.rd.go.th/25626.html (in Thai)

The Revenue Department. (2014). Announcement of the director-general of the revenue department, re: establishing guidelines for the performance of the auditing and certification of tax auditors (last updated 20-08-2014). Retrieved July 13, 2019, from https://www.rd.go.th/29978.html (in Thai)

Wongsrila, R. (2017). Eeffects of auditing competency on financial statement quality of tax auditors in Bangkok. Independent Study, Master of Accountancy in School of Accountancy, Sripatum University. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Youngmanee, S. (2015). Factors affecting on volume and audit quality of Thailand auditors. Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai)