ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในกับความเสี่ยงของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา

Main Article Content

อภินพ นิลพันธ์
สมหญิง จันทรุไทย
สุเทพ อ่วมเจริญ

บทคัดย่อ

การควบคุมภายในเป็นกระบวนการปฏิบัติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานของสถานศึกษา แต่ทว่า สถานศึกษาก็ยังประสบกับความเสี่ยงอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาการควบคุมภายใน ความเสี่ยง และความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในกับความเสี่ยงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา จำนวน 148 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การควบคุมภายในของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (2) ความเสี่ยงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ (3) การควบคุมภายใน โดยภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโดยภาพรวมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดยะลา เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบย่อย พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมกับด้านยุทธศาสตร์และด้านธรรมาภิบาล ผลการวิจัยอธิบายได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาระบบการควบคุมภายในทุกองค์ประกอบและนำไปใช้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาบุคลากรทุกระดับของหน่วยงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการควบคุมภายในและการป้องกันความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chouydomrong, S. (2010). Internal control affecting district nonformal and informal education center risk. Master’s Thesis. Silpakorn University. (in Thai).

COSO. (2017). Enterprise risk management. integrating with strategy and performance executive summary: committee of sponsoring organizations of the treadway commission. Retrieve March 24, 2020, from: https://www.coso.org/Documents/2017-COSO-ERM-Integrating-with-Strategy-and-Performance-Executive-Summary.pdf

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities, 30, 607-610.

Nanmuang, P. (2014). Internal control affecting on the risk of bangbo district non-formal and informal education center. Master’s Research Paper. Northbangkok University. (in Thai).

Office of the non-formal and informal education. (2019). System Implementation and Assessment Manual Internal Control for agencies of onie. Retrieve August 15, 2020, from: http://khonkaen.nfe.go.th/audit/UserFiles/File/Control%20risk%20NFE.pdf (in Thai).

Sithipolvanichgul, J. (2018). COSO Enterprise Risk Management Framework 2017. Journal of Accounting Profession, 14(42), 111-124. (in Thai).

The Comptroller General's Department. (2018). Internal control standard for the control of government agency. Retrieve July 12, 2020, from: http://61.19.50.59/audit/Centers/pagesavefile.aspx?FileName=20181008034140.pdf (in Thai).

The Comptroller General's Department. (2019). Criteria for risk management for government agencies. Retrieve August 24, 2020, from: https://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.23181_1_BCS_1_pdf (in Thai).

The Comptroller General's Department. (2019). Enterprise risk management guidelines coso enterprise risk management 2017. Brochure for internal audit, 22(124), 4-5. Retrieve August 2, 2020, from: https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/จุลสารตรวจสอบ.html?page_locale=th_TH (in Thai).

Srisa-ard, B. & Ningaew, B. (1992). population reference when estimating the scale tool on a sample. Journal of Educational Measurement SWU Mahasarakham, 3(1), 22-25. (in Thai).

Wijitwanna, S. (2011). Research for nonformal and informal education development. Nonthaburi: Sukhothaithammathirat Open University. (in Thai).