การสื่อสารการตลาดในยุค 4.0 เพื่อสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน กรณีศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบ ตำบลบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ

บทคัดย่อ

การกำหนดเครื่องมือสื่อสารการตลาดเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคแต่เป็นเรื่องใหม่และยากสำหรับกลุ่มอาชีพชุมชนที่จะให้สอดรับกับการตลาดในยุค 4.0 จึงได้ศึกษาปัญหาพร้อมกับพัฒนาเครื่องมือและนำเสนอแนวทางสื่อสารการตลาดของผ้ามัดย้อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเก้าแสน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ 4 ขั้นตอนจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีเอกลักษณ์คือ ผ้ามัดย้อมทำสีมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ สภาพปัญหาการสื่อสารการตลาดคือ ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นที่รู้จัก เครื่องมือสื่อสารตลาดไม่หลากหลายและขาดทักษะการใช้สื่อออนไลน์ เครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มีความเหมาะสม ได้แก่ การส่งเสริมการขาย กิจกรรมการตลาด การประชาสัมพันธ์ การตลาดออนไลน์ การขายโดยพนักงาน การวิจัยนี้พบแนวทางการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตอบสนองของผู้บริโภคเป้าหมายในขั้นที่ 1 สร้างให้เกิดการรับรู้ คือ ใช้โฆษณาแฝง สื่อถึงวัตถุดิบที่ใช้จากธรรมชาติ ขั้นที่ 2 ดึงดูดความสนใจ คือ ให้ผู้มีอิทธิพลสื่อสารถึงความปลอดภัยจากสารเคมี ขั้นที่ 3 สอบถามรายละเอียดมีเว็บตอบข้อคำถามของลูกค้าอย่างรวดเร็ว และสื่อสารเรื่องสร้างอาชีพให้ผู้สูงอายุ ขั้นที่ 4 ลงมือทำหรือซื้อสินค้า คือ ต้องจัดส่งสินค้าให้ตรงเวลา สื่อสารถึงการมีผลิตภัณฑ์หลายหลาย และขั้นที่ 5 สนับสนุนหรือบอกต่อ ใช้การจัดโปรโมชั่นในช่วงเทศกาลพิเศษ สื่อสารถึงเรื่องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในกลุ่มซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีความถนัดในการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร มีแนวทางและมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chainirund, P. (2012). Marketting strategy = social media. Bangkok: Nation Broadcasting corporation limited. (in Thai).

Chatawityakul, N. (2016). Consumer behavior of digital communication in Bangkok. Master's Thesis. Bangkok university. (in Thai).

Clow, K. (2010). Integrated Advertising, Promotion, and Marketing Communications. Australia: Pearson Custom Publishing.

Community Enterprise Promotion Division. (2011). Knowledge management operations of community enterprise. Bangkok: Community Enterprise Promotion. (in Thai).

Dararuang, K. (2017). Development of product and market strategy for Ban Kao Lame community enterprise, Nakhonsawan Province. Administration of Organization Development: Chaopraya University. (in Thai).

Jaroensup, A. (2011). Factors influencing choices of bakery products of Chiangmai university students. Master's Thesis. Chiangmai university. (in Thai).

Kotler, P & Kelvin, K. (2016). Marketing management. Edinburgh: Pearson Education.

Kotler, P. (2017). Customer value management. Illinois: Northwestern University.

Murnpho, S. (2016). Potential development for community enterpreneurs based on the concept of creative economy. Master's Thesis. Silpakorn university. (in Thai).

Lohthongkam, T. (2019). What is marketing 4.0?. Bangkok: Marketeer. (in Thai).

Patarapanpee, T. (2018). The process on promote the elderly indentify occupation group in Tumbol BangplaBangplee district Samutphakarn province. Office of Academic Resources and Information Technology. Bangkok: Dhonburi Rajabhat University. (in Thai).

Schultz, D. (1993). Integrated marketing communications. NewYork City: McGraw Hill Professional.

Wongkamchai, T. Payupat, A. &Srisod, T. (2018). A Development of the database prototype of local wisdom for professional development of Bangpla Sub-District, Bangplee District, Samutprakan Province. Office of Academic Resources and Information Technology. Bangkok: Dhonburi Rajabhat University. (in Thai).