การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

สายฝน ไชยศรี
สุวรรณี พรหมศิริ
วินัย รังสินันท์

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D ที่จะสร้างอาชีพ กระจายรายได้สู่ชุมชน นำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจน จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ คุณภาพผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ผลการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกยอดขาย ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D เลือกแบบเจาะจง คือ หัวหน้ากลุ่ม 60 คน และสมาชิกกลุ่มที่มีอายุงานมากที่สุด 3-5 ลำดับตามสัดส่วนสมาชิก รวม 260 คนพบว่า 1) ผู้ประกอบการ มีความเข้าใจเอกลักษณ์ของชาวมุสลิม จึงประยุกต์ผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นได้ แต่ยังขาดความรู้ในการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ในขณะที่ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่ออกแบบทันสมัย หลากหลาย สวยงาม มีเอกลักษณ์ ราคาไม่แพง 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการตลาดมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในประเด็นการทำตลาดออนไลน์และการสื่อสารการตลาด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการผลิต ในประเด็นการสร้างต้นแบบ/การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในประเด็นการเตรียมความพร้อมในการตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เมื่อจำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์ พบว่าแนวทางการพัฒนาแตกต่างกัน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารมีระดับความต้องการในด้านกระบวนการผลิต มีค่า sig=0.023 และด้านการตลาด มีค่า sig =0.000 แตกต่างจากกลุ่มอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การวิจัยสรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ อาศัยหลักการสำคัญคือ การใช้การตลาดนำการผลิตและผลิตให้ได้คุณภาพ ด้วยความรู้สมัยใหม่ ผสมผสานอัตลักษณ์ไทยมุสลิม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D สามารถยกระดับสู่ระดับที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiarakul, T. (2014). The problems and the adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal, 34(1), 177-191. (in Thai).

Community Development Department. (2015). Operation manual for producer new OTOP entrepreneurs of the year 2015. Bangkok : BTS Press. (in Thai).

Department of Science Service. (2018). Project to upgrade OTOP products in 10 target provinces. Department of Science Service Journal, 66(208), 4-6. (in Thai).

Gaysornbua, T. & Pinsam, C. (2018). Entrepreneur development strategies for one Tambon one product (OTOP) from Benjaburapra group to Thai-Cambodian border trade (Aranyaprathet) with SWOT analysis. RMUTT Journal Global Business and Economics Review, 13(2), 51-65. (in Thai).

Inmun, P. (2011). The potential analysis of the performance of a group of hand-woven fabric in the one Tambon one product project in Uttaradit province. Master Independent Study of Economics Degree. ChiangMai University. (in Thai)

Kanjanawanawan, S. & Sahunan, S. (2019). Production factors model in economics and the hospitality industry in Thailand 4.0. Dusit Thani College Journal, 13(1), 369-379. (in Thai).

Kee-ariya, C., Boonyasopon, T., Roopsing, T. & Ketusingha, V. (2016). Potential development model of small and micro community enterprise of central region. The Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 26(1), 141-152. (in Thai).

NaSongkhla, T., Malathong, S., Kaewkeeree, S., Pairot, P. & Phetkaew, T. (2017). Stating in information technology using of OTOP entrepreneur: a case study of Songkhla province. Management Sciences, Songkhla Rajabhat University. (in Thai).

Noknoi, C. & Langthaekun, S. (2015). Value chain analysis of food five-Star rating one Tumbom one product in Nakhonsithammarat province. Panyapiwat Journal, 7(1), 54-66. (in Thai).

Pattani Provincial Community Development Office. (2017). Report of the operation of OTOP project year 2017, Pattani province. Pattani : Pattani Provincial Community Development Office. (in Thai).

Pattani Provincial Office (2018). Briefing of Pattani province 2018. Pattani : IQ Media. (in Thai).

Silcharu, T. (2017). Research and statistical analysis with SPSS-AMOS (17th ed.). Bangkok: Business R&D. (in Thai).

Wannarat, W. (2017). Test score and grading. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruk University, 2(3), 1-11. (in Thai).