การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐานร่วมกับกระบวนการซินเนคติกส์ และเทคนิคการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพ ควรมีรูปแบบการเรียนที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมใช้สื่อด้านเทคโนโลยีให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากการถ่ายภาพที่ได้มาจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการคิดค้นหาคำตอบ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐานร่วมกับกระบวนการซินเนคติกส์และเทคนิคการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีกระบวนการวิจัย 3 ระยะคือ ศึกษาสภาพการเรียนการสอน การสร้างรูปแบบ และการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่ลงทะเบียนรายวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น จำนวน 24 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบประเมินรูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนออนไลน์ เครื่องมือคลาวด์ แบบวัดความรู้ความสามารถการถ่ายภาพ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบประเมินผลงาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐาน มี 7 องค์ประกอบคือ เนื้อหาการถ่ายภาพ แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการเรียนรู้การแก้ปัญหา เครื่องมือการเรียนรู้ ผลงานหรือชิ้นงาน และการประเมินผลการเรียน มีขั้นตอนคือ ค้นหาปัญหา ระบุปัญหา นำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์ ฝึกปฏิบัติภาคสนาม สร้างสรรค์ผลงาน และอภิปรายผลงานและเผยแพร่ โดยองค์ประกอบของเครื่องมือคลาวด์คือ คลาวด์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และคลาวด์สร้างสรรค์สำหรับภาพถ่าย 2) ผลการทดลองรูปแบบ ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทางการถ่ายภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผู้เรียนมีผลงานภาพถ่ายสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยนี้อธิบายได้ว่า รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐานร่วมกับกระบวนการซินเนคติกส์และเทคนิคการคิดนอกกรอบมีความเหมาะสม สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และสามารถเป็นแนวทางในการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bangthamai, E. (2017). The development of instructional activities model by problem-based learning to enhance problem solving abilities on digital photography course for undergraduate students Faculty of Education Silpakorn University. Nakhon pathom : [n.p.]. (in Thai)
Besemer, S. P., & Treffinger, D. J. (1981). Analysis of creative products: Review and synthesis. The Journal of Creative Behavior, 15(3), 158–178.
Chanpala, P. & Sitthisomboon, M. (2021). The development of instructional model to enhance creative problem solving for student teacher at Rajabhat University. Journal of Education Naresuan University, 23(1), 204-213. (in Thai)
Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John wiley & sons.
Covili, J. J. (2012). Going google: Powerful tools for 21st century learning. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
De Bono, E. (2014). Edward de Bono: Lateral thinking. [Online]. Retrieved September 23, 2019, from: https://books.google.co.th/books?id=OYZQcUPBbqcC&printsec.
Gordon, W.J.J. (1972). On being explicit about creative process. The Journal of Creative Behavior, 6(4), 295-300.
Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Kantunyaluk, P. (2014). Development of the blended instructional model using collaborative problem-solving learning and synectics technique to enhance creative problem-solving ability of student tearchers. Degree Doctor of Philosophy Thesis. Silpakorn University. (in Thai)
Karwowski, M., & Brzeski, A. (2017). Selfies and the (Creative) Self: A Diary Study. Frontiers in Psychology, 8(172).
Klaysarai, P. (2013). The online for creative thinking development by using process syncetics in photography. Master’s Thesis. King Mongkut's University of Technology Thonburi. (in Thai)
Kultawanicj, K. (2014). A learning system on cloud-based virtual classroom based on a connectivism learning concept to enhance information literacy and information literacy self-efficacy of undergraduate students. Doctor of Education Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
Louie M. Valdez., & Virginia S. Sobremisana. (2020). The synectics teaching method: Effects on the problem- solving and creative thinking skills of learners in physics. International Journal of Science and Research (IJSR), 9(12), 1189-1204.
Manewan, S. (2018). Development of project-based Learning model using synectics technique via cloud technology to enhance creativity and innovation. Journal of Vocational and Technical Education, 8(15), 63-76. (in Thai)
Office of the president, rajabhat university. (2017). Strategy, rajabhat university for local development for 20 years (2017-2036) revised 11 October 2018, Bangkok: Ministry of education. (in Thai)
Sanphan, A. (2016). The development of synectics web-based instruction with scaffolding to develop creative thinking of product design subject for Matthayomsuksa 3 students. Master’s Thesis. Rajabhat Mahasarakham University. (in Thai)
Srikongchan, W., Kaewkuekool, S. & Mejaleurn, S. (2021). Backward instructional design-based learning activities to developing students’creative thinking with lateral thinking technique. International Journal of Instruction, 14(2), 233-252.
Sung, H.Y. & Hwang, G.J. (2013). A collaborative game-based learning approach to improving students' learning performance in science courses. Computers & Education, 63(1), 43-51. Elsevier Ltd. [Online]. Retrieved May 31, 2020, from: https://www.learntechlib.org/p/167781/.
Wadtan, R. (2017). A development of photograph learning activities using synectic with social media learning to enhance creative of photography for undergraduate Silpakorn University. Master’s Thesis. Silpakorn University. (in Thai)
Wannapiroon, P. & Kangvaravoot, C. (2016). Development Idea marathon instructional model via social cloud (IMSC model) to enhance creative economy thinking. The Sci J. of Phetchaburi Rajabhat University, 13(1), 72-80. (in Thai)