การพัฒนาทักษะวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในแบบทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย : กรณีศึกษานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Main Article Content

สายชล เพียรผดุงพร

บทคัดย่อ

นักศึกษาฝึกสอนวิชาภาษาอังกฤษจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ดี เพื่อส่งเสริมความรู้ในเนื้อหาภาษาอังกฤษของตนเอง และสนับสนุนพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน รวมถึงบรรลุเป้าหมายในการทำแบบทดสอบมาตรฐาน ที่ใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ในการทำแบบทดสอบมาตรฐานวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ด้วยแนวคิดทฤษฏีพฤติกรรมนิยมของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปี 4 จำนวน 28 คน การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ข้อสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TEP) เนื่องจากแบบทดสอบนี้ใช้เพื่อประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไปของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาข้อสอบ การทดสอบก่อนเรียน การฝึกทำข้อสอบมาตรฐาน และการทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าความต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 94 หรือร้อยละ 11.19 ส่วนความต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 3.36 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.52 และประเด็นปัญหาของกลุ่มเป้าหมายด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่พบได้บ่อยที่สุดในการทำข้อสอบ คือ เรื่อง passive voice และ verb agreement จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าทักษะการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สามารถพัฒนาได้โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ซึ่งจะช่วยนักศึกษาฝึกสอนนำความรู้ไปใช้ในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มทักษะการทำแบบทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาฝึกสอนด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alfiyani, L. (2012). An analysis of grammatical errors in writing among the second semester students of English department of Yogyakarta State University in the academic year of 2011/2012. Master’s Thesis, Yogyakarta State University, Indonesia.

Chang, S. (2011). A contrastive study of grammar translation method and communicative approach in teaching English grammar. English Language Teaching, 4(2), 13–24.

Chulalongkorn University Language Institute. (2020). Practice test I and II (10th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Imlakiyah, I. (2016). An error analysis of students’ personal writing recount text at the eighth grade students of MTs. Bachelor’s Thesis. IAIN Syekh Nurjati Cirebon.

Jabeen, A. (2015). The role of error analysis in teaching and learning of second and foreign of language. Education and Linguistic Research, 1(2), 52-61.

Khumphee, S. & Yodkamlue, B. (2017). Grammatical errors in English essays written by Thai EFL undergraduate students. Journal of Education Mahasarakham University, 11(4), 139-154.

Language Centre Lampang Rajabhat University. (2020). The report of CEFR test results. Retrieved November 5th, 2020, from http://www.lc.lpru.ac.th/?page=repexit.php.

Ling, Z. (2015). Explicit grammar and implicit grammar teaching for English major students in university. Sino-US English Teaching, 12(8), 556-560.

Phettongkam, H. (2013). Error analysis and its’ implications in communicative English language teaching. Thammasat Review, 16(3), 96-108.

Pianpadungporn, S. (2017). The development of a computer-based contextualized diagnostic English grammar assessment to investigate English grammar competence of pre-service teachers in Thailand. Doctorate’ Thesis. University of Wollongong.

Teng, B. & Sinwongsuwat, K. (2015). Teaching and learning English in Thailand and the integration of conversation analysis (CA) into the classroom. Teaching and Learning English, 8(3), 13-23.