การตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในภาคตะวันออก

Main Article Content

เจนวิทย์ วารีบ่อ
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร

บทคัดย่อ

การพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูที่กำลังจะก้าวขึ้นไปสู่ครูผู้ช่วยในอนาคต ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานหน้าที่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับชำนาญการขึ้นไป จำนวน 300 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในภาคตะวันออกมีคุณภาพด้านความตรง โดยผ่านการพิจารณาจาก 1) ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล ซึ่งค่า p-value มากกว่า .05 และดัชนีวัดความกลมกลืนทุกค่าผ่านเกณฑ์การประเมิน และ 2) ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ในช่วง 0.64-0.87 ความแปรปรวนที่สกัดได้ มีค่าอยู่ในช่วง 0.60-0.65 ความเที่ยงเชิงโครงสร้างมีค่าอยู่ในช่วง 0.82-0.91 และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบมีความตรงเชิงจำแนก ดังนั้นสถาบันผลิตครูในภาคตะวันออกควรนำสมรรถนะที่ได้จากการวิจัยไปวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนออกแบบกระบวนการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่คาดหวัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chuensuksomwng, N. & Jaruchainiwat, P. T. (2014). A needs assessment to develop early childhood teachers’ professional competency. An Online Journal of Education, 9(1), 713-727. (in Thai)

Dechagup, P. & Yindeesuk, P. (2014). Learning management in the 21st Century. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. (in Thai)

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. NJ: Prentice Hall.

Koonmee, K., khaykrathok, T. & Channgam, S. (2014). The study of needs in performance competency development of teachers under the Jurisdiction of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Offices 1-5. The 6th NPRU National Academic Conference, May 30-31, 2014. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University. (in Thai)

Kowtrakul, S. (2016). Educational of psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. (in Thai)

Office of the Education Council. (2019). Thai education status 2018/2019, Education Reform for the Digital Era. Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai)

Office of the Education Council. (2019). Understanding the people's simple competency curriculum and understanding the simple competency based curriculum for teachers, administrators and educational personnel. Nonthaburi: 21 century print. (in Thai)

Pantana, O. (2010). Requirement necessary assessment in academic development, of elementary education teacher, Phitsanulok province. Master’s Thesis. Naresuan University. (in Thai)

Sanrattana, V. (2013). A mew paradigm in education, case of attitude towards 21st century education. Bangkok: Tippayawisut. (in Thai)

Thammawongsa, B. (2018). 4CS : Four learning skills you should have, can practice and no talent needed [Online]. 10 December 2020, form: https://thepotential.org/knowledge/4cs-for-21st-century-learning/. (in Thai)

Thanaphatchottiwat, S. (2014). The development of teaching professional experience model for enhancing the required characteristics of teacher in the 21st century. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 33-48. (in Thai)

Wangsrikun, A. (2014). Thai education for the 21st century: Productivity and development guidelines. Humanities and Social Sciences Journal, 8(1), 1-17. (in Thai)