การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ภารวี จงไกรจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงระบบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 33 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบ จำนวน 4 แผน 2) แบบวัดทักษะการคิดเชิงระบบเป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 7 ข้อ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษา เท่ากับ 81.50/81.25 มีค่าใกล้เคียง 80/80 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้มีประสิทธิภาพ 2) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบในรายวิชาวิทยาการคำนวณ มีความสามารถในการคิดเชิงระบบหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบในรายวิชาวิทยาการคำนวณ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chatchainanon, J. (2014). The development of instructional model to enhance systematic thinking skill of public health students. Ph.D Thesis. Silpakorn University. (in Thai)

DMC.TV. (2017). Hard & Soft skills 2017 must-have skills. [Online]. Retrieved May 4, 2022, from: https://xn--12cas3c2av3m3a0g7c.com/hard-softskills%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8% B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0% B8%B5-2017/ (in Thai)

Inthalapaporn, C., Phatphon, M., Wongyai, W., Phumsaat, S. (2015). Education and STEM learning management guidelines for elementary school students. Veridian E-Journal, 8(1), 61-73. (in Thai)

Jutharot, M. (2012). Concepts and principles of thinking. Retrieved on November 16, 2021, from:

http://www.bcnsurin.ac.th/e-teacher/data/HgPY3MJFri91650.doc

Karimi, S. (2017). Using engineering design process to enhance creativity and problem-solving skills. institute for the promotion of teaching science and technology magazine, 46(209), 23-27. (in Thai)

Khechornphak, B. (2015). The development of systems thinking model for pre-service teacher Rajabhat Mahasarakham University. Master's Degree. Rajabhat Mahasarakham University. (in Thai)

Kitkuakun, S. (2015). STEM education. Journal education Naresuan university, 17(2), 201-207. [Online]. Retrieved November 10, 2021, from: https://so06.tcithaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33370. (in Thai)

National STEM Education Center. (2015). STEM education network guide. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, Ministry of Education. (in Thai)

National Research Council. (2012). A framework for K-12 science education: practices, crosscutting concept, and core ideas. committee on new science education standards, board on science education, division of behavioral and social science and education. Washington, DC: National Academy Press.

Patcharachompu, P., Pranee, C.& Panawong, S. (2016). A development of instructional model to enhance the system thinking ability for high vocational certificate curriculum students. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 7(12), 117-132. (in Thai)

PhuWorawan, Y. (2015). Knowing the media Information literacy is at the heart of 21st century learning. [Online]. Retrieved October 22, 2021, from:https://www.nstda.or.th/nac/2016/index78d3.html?pageid=661. (in Thai)

Saengpromsri, P. (2015). Comparisons of learning achievement, integrated science process skills, and attitude towards chemistry learning for Matthayomsueksa 5 students between STEM education and conventional methods. Journal of Education, Mahasarakham University, 9(Special issue), 401-419. (in Thai)

Senge, P.M. (1993). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. London: Century Business.

SO-IN, R. (2019). The development of system thinking by using a project-based learning package on social study for secondary III students of theeparatpittaya school in Kon Samui of Suratthani. Master's Degree. Suratthani Rajabhat University. (in Thai)

Srikhamwiang, W. (2018). Computing science (Online). Retrieved November 1, 2021, from: https://www.scimath.org/lesson-technology/item/8808-computing-science. (in Thai)