การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านต้นแบบ 9 เพ(ร)าะสุข จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

จิราวรรณ สมหวัง
สุกัญญา พยุงสิน
กิตติวัลย์ ทองอร่าม

บทคัดย่อ

หมู่บ้าน 9 เพ(ร)าะสุข ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ และรวมตัวกันเพื่อเปิดตลาด 9 เพ(ร)าะสุข เพื่อจำหน่ายพืชผลทางเกษตรปลอดเคมี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของเกษตรกรชุมชนของหมู่บ้านต้นแบบ 9 เพ(ร)าะสุข 2) พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการตลาดชุมชนหมู่บ้านต้นแบบ 9 เพ(ร)าะสุข จังหวัดสิงห์บุรี และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านต้นแบบ 9 เพ(ร)าะสุข ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำ ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนเกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ เกษตรกร จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.951 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ 1) ขาดความรู้ทางการตลาด และ 2) ต้องการสร้างอัตลักษณ์และจุดเด่นในการขายสินค้าชุมชน สำหรับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดวางสินค้าหน้าร้านสำหรับตลาดชุมชน และการออกแบบและการจัดทำบรรจุภัณฑ์กรีนโลจิสติกส์ โดยพบว่า หลังการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และความเข้าใจอยู่ในระดับมาก และสามารถนำความรู้ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านต้นแบบ 9 เพ(ร)าะสุข ภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านเครือข่ายของชุมชน ด้านการผลิต และด้านการกระจายและจำหน่ายสินค้าเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barisri, J. (2020). Strengthening process of a model community of sufficiency economy: a case study of Ban Kutkhae Na Ngam subdistrict, Selaphum district, Roiet province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(9), 397–409. (in Thai)

Evans, M., Miller, D., Hutchinson, P., & Dingwall, C. (2014). The Oxford handbook of qualitative research. The United States of America: Oxford University Press.

Inprom, C. (2018). Sufficiency and the new theory applied to a one-rai plot of land generating an income of 100,000 baht. Journal of Social Development, 20(2), 1–15. (in Thai)

Kanjanawasi, T., & Kanjanawasi, S. (2021). Research methodology (3rd ed.). Bangkok: Pimtanjai. (in Thai)

Laoluecha, T. (2021). Knowledge management model for local wisdom marketing of elderly farmer community in Mukdahan province. (KMEF model). Journal of Social Science for Local Rajabhat Mahasarakham University, 5(4), 122-131. (in Thai)

Mai Dat Subdistrict Administrative Organization. (2019). The 5-year local development plan (2018 - 2022). Sing Buri: Mai Dat Subdistrict Administrative Organization. (in Thai)

Sanarmkate, T., & Kabjan, N. (2021). Guidelines for strengthening community capital to determine success factors at Uttaradit province. The Journal of Research and Academics, 5(1), 129–144. (in Thai)

Silpcharu, T. (2017). A Research and statistical analysis with SPSS and AMOS (17th ed.). Nonthaburi: S. R. Printing Mass Production.

Sing Buri Provincial Agriculture and Cooperatives Office. (2019). Sing Buri Provincial Agriculture and Cooperatives Office’s organizational performance report 2019. Sing Buri: Sing Buri Provincial Agriculture and Cooperatives Office. (in Thai)

Thongaram, K. (2020). Platforms: science and technology community incubator. [Online]. Retrieved October 20, 2020, from: http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/torfile/2020422121421.pdf. (in Thai)

Worakham, P. (2021). Educational research (12th ed.). Mahasarakham: Takasila printing. (in Thai)