ผลการใช้สื่อวิดีโอออนไลน์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคำนวณภาษีเงินได้ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้วยสื่อการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อวิดีโอออนไลน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างก่อนและหลังการใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะ กับเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 75 และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ตัวอย่างวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนยะลา สาขาวิชาการจัดการ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อวิดีโอออนไลน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3) แบบประเมินทักษะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) สื่อวิดีโอออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ เท่ากับ 86.1/95.56 2) คะแนนสมรรถนะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลังการใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ (= 24.28, S.D. = 3.94) มากกว่าก่อนการใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ (= 12.28, S.D.=1.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(17)= -20.20, p<.001) 3) คะแนนสมรรถนะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายหลังการใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ (= 25.11, S.D. = 2.30) มากกว่า 22.5 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(17)=4.82, p<.001) และ 4) ตัวอย่างวิจัยโดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอออนไลน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ดังนั้นควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำสื่อการเรียนรู้ในลักษณะสื่อออนไลน์ประเภทวิดีโอหรือสื่อมัลติมีเดียมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือมีศักยภาพสูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Brahmawong, C. (2013). Developmental testing of media and instructional package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 1-20. (in Thai)
Chaysuwan, A. & Janchalong, C. (2022). Effects of using multimedia affecting academic achievement on chemical acidity through the internet. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 12(1), 195-205. (in Thai)
Didbunjong, K. & Boonseng, A. (2022). The development of video media on sprinting skill for Thailand national sports university students. Journal of Faculty of Physical Education, 25(1), 45-55. (in Thai)
Mayer, R. E. (2009). Multimedia learning (2nd ed.). New York: Cambridge University Press.
Nitjarunkul, K., Kanchanachaya, N., Duangjaidee, W. & Auksornnit, V. (2022). Effective of Using Computer Multimedia to Enhance Reading Ability in Basic Thai Word for Grade 1 Students Using Thai as a Second Language in the Southern Border Provinces. Journal of Social Science for Local Rajabhat Mahasarakham University, 6(2), 134-143. (in Thai)
Noo-khow, K., Rasmeephen, K. & Pumahapinyo. S. (2022). Development of instructional multimedia on perspective fundamental with flipped classroom concept for Mathayomsuksa 1 students from Hua Hin School. SSRU Academic Journal of Education, 6(1), 56-64. (in Thai)
Pannao, W., Hirannukhro, T. & Wongprom, B. (2022). The development English grammar skills with videos in the ENG111 everyday English of Sripatum University, Khonkaen campus. Journal of Buddhist Philosophy Evolved, 6(2), 97-108. (in Thai)
Papun, L. & Kongnavang, S. (2022). The development of practical skills and academic achievement on editing graphics using the 5-steps GPAS process with multimedia of the second year vocational certificate students. NEU Academic and Research Journal, 12(3), 89-101.
Phudthonamochai, C. (2021). Creating and developing learning innovations using multimedia integrated with online social networks. Journal of MCU Peace Studies, 9(1), 215-225.
Romae, A., Chunphun, C. & Isaranarakul, O. (2021). Development of multimedia for learning on alternative energy in Narathiwat province for students in private Islamic schools. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 258-274. (in Thai)
Saetang, U. & Limtasiri, O. (2022). The study of academic achievement and the satisfaction of learning social studies of Matthayom sueksa 5 by multimedia lessons. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 190-206. (in Thai)
Srichailard, U. & Khunduang, T. (2021). The development web multimedia lessons with problem-based learning for promote reading skills case studies of Thai language course for Mathayomsuksa 2 students. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University, 11(1), 29-39. (in Thai)
Srisa-Ard, B. (2017). Basic research (10nd ed.). Bangkok: Suweeriyasarn Publisher.
Tuntavanitch, P. & Jindasri, P. (2021). The real meaning of IOC. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 24(2), 3-12. (in Thai)
Yannaphap, L. (2022). Hand out of business taxation. [Unpublished manuscript]. Yala: Yala Community college, Institute of Community Colleges. (in Thai)