ผลของการใช้รูปแบบการพิสูจน์ร่วมกับกลยุทธ์การอ่านทางปัญญาและอภิปัญญาที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิต

Main Article Content

ปาริชาติ ภูภักดี
เสาวภาคย์ วงษ์ไกร

บทคัดย่อ

การพิสูจน์ทางเรขาคณิตเป็นเรื่องที่สำคัญในหลักสูตรคณิตศาสตร์ นักเรียนยังมีปัญหาการพิสูจน์ทางเรขาคณิต แม้แต่นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรคณิตศาสตร์ขั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งก็ไม่สามารถเข้าใจการพิสูจน์ทางเรขาคณิตได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพิสูจน์ร่วมกับกลยุทธ์การอ่านทางปัญญาและอภิปัญญาที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิตของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเรขาคณิตเบื้องต้น จำนวน 56 คน เป็นกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการพิสูจน์ 3 แบบ (แบบความเรียงเป็นย่อหน้า แบบสองคอลัมน์ และแบบใช้ผังงาน) ร่วมกับกลยุทธ์การอ่านทางปัญญาและอภิปัญญา และกลุ่มควบคุมใช้รูปแบบการพิสูจน์เฉพาะการพิสูจน์แบบความเรียงเป็นย่อหน้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิต โดยทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิตก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าคะแนน N – gain แสดงให้เห็นว่ากลุ่มทดลองมีพัฒนาการความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และการใช้รูปแบบการพิสูจน์ร่วมกับการใช้กลยุทธ์การอ่านทางปัญญาและอภิปัญญาจะช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองด้านพื้นฐานความรู้ สถานะเชิงตรรกะ การสรุป ลักษณะทั่วไป และการนำไปใช้ และแนวคิดที่สำคัญ
ในการพิสูจน์ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้รูปแบบการพิสูจน์หลายรูปแบบร่วมกับกลยุทธ์การอ่านทางปัญญาและอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านการพิสูจน์ทางเรขาคณิตของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anwar, L., Mali, A. & Goedhart, M. J. (2021). The effect of proof format on reading comprehension of geometry Proof: The case of Indonesian prospective mathematics teachers. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 17(4), 1-15.

Brandell, J. (1994). Helping students write paragraph proofs in geometry. Mathematics Teacher, 87(7), 498-502.

Brikshavana, T. (2017). A study of ability and the problems in mathematical proof of Educational Bachelor Degree Students Mathematical Program Suan Dusit University. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 13(2), 167-184. (in Thai)

Cirillo, M. & Herbst, P. G. (2012). Moving toward more authentic proof practices in geometry. Mathematics Educator, 21(2), 11-33.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement versus traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics, 66(1), 64-74.

Hake, R. R. (2002). Relationship of individual student normalized learning gains in mechanics with gender, high-school physics, and pretest scores on mathematics and spatial visualization. Physics Education Research Conference, 8(1), 1-14

Klumbut, T. (2013). The development of activity packages to enhance reasoning ability on reasoning about triangle and quadrangle for Mathayomsuksa 3th students. Master’s Thesis. Naresuan University. (in Thai)

Ministry of Education. (2019). Bachelor's Degree qualifications standards department of Education (Four year program) 2019. (in Thai)

Miyazaki, M., Fujita, T. & Jones, K. (2015). Flow-chart proofs with open problems as scaffolds for learning about geometrical proofs. ZDM–Mathematics Education, 47(7), 1211-1224

Program in Mathematics. (2021). Minutes of the meeting for the development of educational quality in Mathematics Program. In Minutes of the Meeting No.7/21. 18 June 2021. Loei: Faculty of Education, Loei Rajabhat University. (in Thai)

Weber, K. (2015). Effective proof reading strategies for comprehending mathematical proofs. International Journal of Research in Undergraduate Mathematics Education, 1(1), 289 – 314.

Yang, K. L. & Lin, F. L. (2008). A model of reading comprehension of geometry proof. Educational Studies in Mathematics, 67(1), 59-76.

Yang, K. L. (2012). Structures of cognitive and metacognitive reading strategy use for reading comprehension of geometry proof. Educational Studies in Mathematics, 80(3), 307-326.

Yang, K. L. & Lin, F. L. (2012). Effects of reading-oriented tasks on students’ reading comprehension of geometry proof. Mathematics Education Research Journal, 24(2), 215-238.