ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาวิถีเกาะสิเหร่ที่มีต่อสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นพวรรณ กาโร

บทคัดย่อ

เกาะสิเหร่ เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเก็ต เป็นพื้นที่ ที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม มีการตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิมและกลุ่มชาวเล “อูรักลาโว้ย” ซึ่งเป็น 1 ใน 35 กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และด้วยวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวอูรักลาโว้ย ที่แตกต่างจากคนพื้นเมืองจึงทำให้เกาะสิเหร่ มีความเป็นพหุวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ส่งผลให้คนในพื้นที่ต้องปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงได้วิจัยและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาวิถีเกาะสิเหร่ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย โรงเรียนเกาะสิเหร่ ผ่านการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเกาะสิเหร่ จำนวน 27 คน ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัยพบว่า ผลคะแนนเปรียบเทียบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และจากการประเมินพฤติกรรมจากแบบสังเกตระหว่าง ทำกิจกรรม ชี้ให้เห็นว่า เด็กปฐมวัยที่มาจากชุมชนเกาะสิเหร่สามารถเล่าถึงความเป็นมาของชุมชนได้ด้วยความภูมิใจ ส่วนเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้มาจากชุมชนเกาะสิเหร่ สามารถปรับตัวและมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน เข้าใจในวัฒนธรรมของตนเองและวัฒนธรรมของผู้อื่น ซึ่งการนำแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาผ่านการบูรณาการเนื้อหา ควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัยเนื่องจากเป็นวัยเริ่มเรียนรู้และซึมซับทัศนคติที่นำไปสู่การสร้างมายาคติและเลือกการปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bronfenbrenner, U. (1994). Ecological model of human development. International Encyclopedia of Education, 3(2), 37-43.

Dewey, J. (1959). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.

Karo, N. (2022). Comparative results of knowledge in main cultures about Phuket food of early childhood. Social Sciences Research and Academic Journal, 17(3), 176-188. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). Early childhood curriculum B.E. 2560. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Nasee, P. (2021). Multicultural education curriculum development for Early Childhood Education in peripheral areas. Journal of Education Studies, 49(1), 1-19. (in Thai)

Nawarat, N. (2018). Multicultural education: Critical perspectives and praxis in schooling. Chiang Mai: Wanida Karnpim. (in Thai)

Pantuwong, N. Hirunchalothorn, P. (2022). The effect of ASEAN cooking activity provision on cultural awareness of young children. Journal of Education Thaksin University, 22(2), 176-188. (in Thai)

Phetsart, T. (2020). Organization of integrated learning activities combined with local wisdom to develop creativity of early childhood children of the Lao Wiang ethnic group, U Thong District, Suphan Buri Province. The 11th Proceeding National & International Conference, March 27, 2020. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Srikate, P. (2022). Early childhood identification report. Phuket: Kohsirae School. (in Thai)

Ungkul, P., Waiwong, B., Seeduka, D. & Ariyapholpunya, R. (2017). The development of the Chao Ley (Sea Gypsies) cultural heritage center at Ban Laem Tukkae. Journal of the Association of Researchers, 22(2), 119-128. (in Thai)

Vygotsky, L. S. (1995). Mind in society: The development of higher psychological processes. London: Harvard University Press.

Yodtham, N. & Hiranchalothon, P. (2015). Learning experience provision based on the way of local fishing to encourage cultural awareness in preschool children. Academic Services Journal Prince of Songhla University, 26(3), 37-41. (in Thai)