การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ บวรศักดิ์
อาริยา สุริยนต์
สฤษดิ์ ศรีขาว

บทคัดย่อ

การออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เผชิญสถานการณ์ปัญหา มีอิสระในการคิดและให้เหตุผลได้ด้วยตัวเอง นักเรียนจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมชั้นเรียนโดยเน้นการให้คุณค่ากับแนวคิดและครูเป็นผู้รับฟังเหตุผลของนักเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สถิติ ในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเข้าร่วมสังเกตชั้นเรียนเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและกำหนดปัญหาวิจัย ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 5 เดือน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 กลุ่ม 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน 3) แบบบันทึกหลังการสอน 4) กล้องบันทึกวีดิทัศน์ และ 5) กล้องภาพนิ่ง ผลการวิจัยพบว่า ชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยทีมครูร่วมกันออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยสถานการณ์ปัญหา จากนั้นครูให้โอกาสนักเรียนคิดด้วยตัวเอง นำเสนอและอธิบายแนวคิดโดยนักเรียนสามารถให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 2 แบบ ได้แก่ 1) การให้เหตุผลจากตัวแบบ ประกอบด้วยการให้เหตุผลจากความจำและการให้เหตุผลจากวิธีการ และ 2) การให้เหตุผลที่เกิดจากคณิตศาสตร์แบบสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความแปลกใหม่ ความน่าเชื่อถือ และรากฐานทางคณิตศาสตร์ โดยพบว่า ชั้นเรียนดังกล่าว ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถให้เหตุผลที่เกิดจากคณิตศาสตร์แบบสร้างสรรค์โดยมีแนวโน้มสูงกว่าการให้เหตุผลจากตัวแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Inprasitha, M. (2018). Open approach lesson study: An authentic PLC practice in school [Training materials]. The 12th National Open Class, Khon Kaen University, Thailand. (in Thai)

Inprasitha, M. (2022). Lesson study and open approach development in Thailand: A longitudinal study. International Journal for Lesson and Learning Studies, 11(5), 1-15. https://doi.org/10.1108/IJLLS-04-2021-0029.

Keawam, R. (2016). Using open-ended question in teaching mathematics. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 8(15), 206-211. (in Thai)

Khunwiset, N., Chaowatthanakun, K. & Chuwong, J. (2017). The Study of ability to reason mathematically, by learning on the use of open-ended questions of Mathayomsuksa I students. The 13th National Academic Conference, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus. 13(1), 2166-2173. (in Thai)

Kottapan, T., Pavaputanon, L. & Boonsena, N. (2022). Mathematical reasoning of grade 7 students in mathematics classroom. KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies), 10(1), 72-81. (in Thai)

Lithner, J. (2008). A research framework for creative and imitative reasoning. Educational Studies in Mathematics, 67, 255-276. https://doi.org/10.1007/s10649-007-9104-2.

Woranatesudathip, N. et al. (2009). Lesson study and open approach: Case study of Khon Kaen University Demonstration School (Education) Elementary. Journal of Education Khon Kaen University, 32(4), 76-80. (in Thai)