การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุมัยย๊ะ สาแอ
ฟูไดละห์ ดือมอง

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็นต่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พบประเด็นปัญหาในเรื่องการคิดของผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะการคิดเชิงคำนวณ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์ 2) ศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย 1) ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 70/70 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และการทดสอบข้อมูล 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน 3) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย หุ่นยนต์ บอร์ดแผนที่ บัตรคำแสดงชื่อสถานที่ บัตรคำข้อมูล และบัตรคำแสดงคำตอบ โดยประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 74.79/74.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ 2) คะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนหลังเรียน (gif.latex?\bar{X}= 22.47, S.D. = 1.61) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X}= 8.60, S.D. = 2.21) และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3) คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.49, S.D. = 0.31) จากผลการวิจัยการจัดการเรียนรู้ด้วยวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์ สามารถขยายผลไปใช้กับรายวิชาอื่น ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ เพื่อยกระดับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buaphan, W., Ngamkanok, S. & Panhun, S. (2019). Development model for excellence administration of robot instruction under office of the basic education commission. Journal of Education and Social Development, 14(2), 84-99. (in Thai)

Krutkham, S. & Polyiem, T. (2022). Developing the ability to solve mathematical proportion and ration by using the problem based learning with the mixed media of mathayomsuksa 1. Journal of Rajabhat Maha Sarakham University, 16(2), 99-113. (in Thai)

Lookbua, C. (2020). Learning model of robotics activities and problem based learning for promoting computational thinking skill grade 3 elementary students at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School. Master’s Thesis. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Pangsriwong, N. (2020). The development skills of using information and communication technology for learning management in the 21st century of teachers in Talad Nong Wai School under Surat Thani Primary Educational Service Area Office 2. Master’s Thesis. Surat Thani Rajabhat University. (in Thai)

Puechsing, P. (2021), The development of computational thinking skills using problem based learning and social network for eighth grade students. Master’s Thesis. Mahasarakham University. (in Thai)

Promla, P. & Sintanakul, K. (2021). The effect of learning management by competency-based learning blend with web-based teaching and problem-based learning according to MIAP process to develop computation thinking skill of vocational certificate student, information technology subject. Journal of Humanities and Social Sciences, 9(2), 181-194. (in Thai)

Rungprapan, C. (1996). Basic statistics. Khon Kaen: Nanawittaya Library. (in Thai)

Saenboonsong, S. (2022). The development of game mobile application to enhance computational thinking skill for primary students under office of Phranakhon Si Ayutthaya educational service area. Journal of Industrial Education, 21(1), 56-66. (in Thai)

Suwanvapee, P. & Kanjug, I. (2020). The development of gamification learning environment to enhance problem-solving thinking skills in computing science courses on problem-solving topic for Mathayomsuksa 1 students at Nongwuasorpittayakhom School. Journal of Graduate Research, 11(1), 15-27. (in Thai)

Tasrabeab, P., Jutiphon, A. & Tipmas, W. (2019). The use of information technology for learning management of teachers in islamic private school in Nakhon Si Thammarat Province. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(1), 128-140. (in Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). Indicators and core learning content of science learning subject group, revised edition 2017. Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai. (in Thai)

Wongsant, C., Maharkan, P. & Sumbandit, W. (2022). The problem of teaching islamic studies in private schools which teaches along with general subject based on the concept of learning in the 21st century skills. Journal of Western University Research Journal of Humanities and Social Science, 8(2), 1-12. (in Thai)

Wongklang, W. (2018). The development of web-based instruction learning using problemare integration with virtual robot controller program for high school in Matthayomsuksa 4 (10th grade). Master’s Thesis. Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)

Wongcharoen, W. (2018). Learning provision using problem – based learning with augmented reality technology to develop analytical and problem solving thinking skills for mathayomsuksa iv students. Master’s Thesis. Dhurakij Pundit University. (in Thai)