แรงงานข้ามชาติ : การย้ายถิ่นกลับของแรงงานไทยกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในอิสราเอล

Main Article Content

อดิศร ภู่สาระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสร้างทฤษฎีฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิหลัง และความคาดหวังของแรงงานไทยกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ก่อนไปทำงาน สภาพการทำงาน และผลจากการย้ายถิ่นกลับ จากกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ย้ายถิ่นกลับจากประเทศอิสราเอล ในพื้นที่ชุมชนห้วยหาน จังหวัดเชียงราย การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
โดยเทคนิค สโนว์บอลล์ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการสร้างทฤษฎีฐานราก การตรวจสอบความตรงโดยการเปรียบเทียบกับทฤษฎีหลัก ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเดินทางไปทำงานในอิสราเอล แรงงานไทย มีความคาดหวังจากการทำงานคือ อัตราค่าจ้างสูง สามารถนำเงินมาซื้อบ้าน รถยนต์ การจัดการศึกษาบุตร และการลงทุนประกอบอาชีพ กลุ่มเครือญาติเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าดำเนินการไปทำงานและการดูแลครอบครัว สภาพการทำงานแรงงานไทยทำงานในภาคการเกษตรในโมชาฟใกล้ฉนวนกาซา รายได้จากการทำงานถูกส่งให้ภรรยาเป็นผู้จัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว และการออม ผลจากการย้ายถิ่นกลับ แรงงานไทยทั้งหมดกลับก่อนหมดสัญญาการทำงานเนื่องจากสามารถออมเงินได้ตามความคาดหวัง และสถานการณ์ความรุนแรงในอิสราเอล แรงงานไทยบรรลุความหวังก่อนไปทำงาน และนำทักษะทางการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ภาครัฐควรจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดการส่งคนงานไปต่างประเทศ และการนำประสบการณ์ การใช้เทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angkhakhummool, W., Isaraphan, P., Kanjanavanit, R., kittikawin, N. & Simarakampai, A. (2017). Working conditions and occupational safety among Thai agricultural workers in The State of Israel. Disease Control Journal, 3(1), 12-25. (in Thai)

Boonkwang, P. & Ayuwat, D. (2017). Household security of Isan migrant workers working abroad. Nakhon Phanom University Journal, 7(2), 108-115. (in Thai)

Boonsathirakul, J. (2017). Life career development. Bangkok: Cyberprintgroup. (in Thai)

La-orngplew, W. (2022). “Labor movement from Thailand to South Korea” In The intersection of forbidden matters in the knowledge area. Ganjanapan,A( Eds.) Chiang Mai: Faculty of Social Sciences Chiang Mai University. (in Thai)

Office of Labour Affairs, Royal Thai Embassy, Tel Aviv, Israel. (2023). Situation of Thai workers in Israel. [Online]. Retrieved December 1, 2023, from: https://israel.mol.go.th/info/labor-information. (in Thai)

Prasartkul, P. (2000). Essential studies on human resources. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University. (in Thai)

Pusara, A. (2022). The restorative justice process, Houi Han Hmong community in Chiang Rai province. ARU Research Journal Humanities and Social Sciences, 9(3), 9-18. (in Thai)

Rattanadilok Na Phuket, P. (2016). Philosophy of social science. Bangkok: Bangkok Blocks. (in Thai)

Sukantha, S. (2014). The mobility of Burmese labors in upper Northern Thailand. Journal of Economics CMU, 8(1), 43-63. (in Thai)

Thongpan, S. (2017). Knowledge of migrant workers in Thailand. Pathum Thani: Thammasat Printing House. (in Thai)

Vroom, V. 1983). Vroom’s expectancy Theory. [Online]. Retrieved March1, 2024, from: https://www.ifm.eng. cam.ac.uk/research/d5tools/vrooms-expectancy-theory/.