การศึกษาสถานภาพงบประมาณการวิจัยโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยมหิดลในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการทำงานวิจัยและทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาสถานภาพงบประมาณทุนวิจัยที่ได้รับจากแหล่งทุนภายนอกต่างประเทศในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์สถานภาพงบประมาณโครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยในปีงบประมาณ 2564-2566 และ เปรียบเทียบสัดส่วนการได้รับทุนวิจัยจำแนกตามสาขาการวิจัยและแหล่งทุน และเปรียบเทียบงบประมาณของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนตามส่วนงานต้นสังกัด โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสัญญารับทุนและฐานข้อมูลโครงการของงานบริหารและส่งเสริมการวิจัย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 269 โครงการ นำไปศึกษาวิจัย เรียบเรียง จัดกลุ่มข้อมูล และวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติพบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอกต่างประเทศในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 เพิ่มสูงขึ้น โดยปีงบประมาณ 2566 ได้รับงบประมาณสูงที่สุด จำนวน 878,243,292.34 บาท และโครงการวิจัยที่ได้รับทุนตั้งแต่ 1,000,001 – 5,000,000 บาท/โครงการ มีจำนวนมากที่สุด โดยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพได้รับทุนจำนวนโครงการมากที่สุด ซึ่งแหล่งทุนที่อนุมัติทุนวิจัยสูงที่สุดคือ Department of Defense (DoD) และ National Institutes of Health (NIH) และคณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกต่างประเทศมากที่สุด จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงความเชี่ยวชาญในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติโรคระบาดทั่วโลกและนโยบายการสนับสนุนทุนของแหล่งทุนภายนอกต่างประเทศที่มุ่งเน้นสนับสนุนทุนวิจัยในสาขาด้านการแพทย์และสุขภาพ และยังเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษานโยบายการให้ทุนของแหล่งทุนและประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับอนุมัติทุนจากแหล่งทุนมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Division of Planning, Mahidol University. (2023). Annual report 2022 Mahidol University. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai)
Division of Planning, Mahidol University. (2023). MAHIDOL UNIVERSITY Strategic plan 2024-2027. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai)
Chuwijitra, L. & Taesakul, N. (2020). Problems survey of international graduate students of the Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University in the situation of temporary workplace closure as a result of COVID-19 infection outbreak. Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 165-173. (in Thai)
Yangthavorn, M. (2019). Research budget position of the Faculty of Argo-Industry, Chiang Mai University for fiscal year 2014-2016. CUAST Journal, 8(1), 47-54. (in Thai)
National Institutes of Health. (2023). Estimates of funding for various research, condition, and disease categories (RCDC) [Online]. Retrieved March 7, 2024, from:
https://report.nih.gov/funding/categorical- spending#/
National Research Council of Thailand. (2022). Report on the survey of expenditure and personnel in research and development in Thailand of fiscal year 2021. [Annual report]. Bangkok: National Research Council of Thailand. (in Thai)
National Research Council of Thailand. (2023). Science, research, and innovation index: pathway to national development 2023 (1st Ed.). Bangkok: National Research Council of Thailand. (in Thai)
Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council Act B.E. 2562. (2019, 1 May). Royal Thai Government Gazette. 136 (57Gor). 8-34. (in Thai)
World Health Organization Thailand. (2022). Weekly epidemiological report in Thailand by the World Health Organization (No. 253) [Online]. Retrieved March 7, 2024, from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_12_07_tha-sitrep-253- covid-19.pdf?sfvrsn=87f15ac2_1 (in Thai)
Boonkhum, P. (2022). Analysis of international publications of Institute for Population and Social Research, Mahidol University from 2011 to 2020 in Scopus database. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 627-644. (in Thai)
QS World University Rankings. (2023). QS World University Rankings by subject 2023: Medicine [Online]. Retrieved March 7, 2024, from: https://www.topuniversities.com/university-subject-rankings/medicine?3search=Mahidol.
Scopus. (2024). Advanced search by affiliation “Mahidol University” and by subject area during 2019-2021. [Online]. Retrieved May 23, 2024, from: https://www.scopus.com/search/form.uri? with enter query string “(Affil("Mahidol University") and pubyear> 2018 and pubyear <2022)”.
Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. (2020). Strategic plan of Faculty of Tropical Medicine 2018-2022 (Revised edition 2020). Bangkok: Mahidol University. (in Thai)
Assawamakin, S., Chayathatphommirat, V. & Nuanla-ong, C. (2021). An analytical study of the performance in applyig for research grants from international sources at Mahidol University during the fiscal years 2017-2020. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai)